Page 140 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 140
4.4 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประเทศอินโดนีเซีย
4.4.1 สถานการณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญของประเทศ/ภูมิภาค
ประเทศอินโดนีเซียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากในล าดับต้นๆ
ของโลกเนื่องด้วยความหลากหลายทางภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมประกอบกับเป็นประเทศที่มี
ภูมิประเทศเป็นเกาะแก่ง อีกทั้งจ านวนประชากรที่มีมากกว่า 200 ล้านคน จึงท าให้การปกครองใน
ั
อินโดนีเซียค่อนข้างเป็นไปด้วยความยากล าบาก อีกทั้งยังมีปญหาในเรื่องของการมีส่วนร่วมใน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง
แต่ใช่ว่าอินโดนีเซียจะไม่ยอมรับหลักการสิทธิมนุษยชนสากลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัย
ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ที่มีทั้งการฆ่า การท าลายสิทธิในชีวิตของประชาชน โดยทหารหรือต ารวจ
ั
ลับในติมอร์ตะวันออก หรือ ประเทศติมอร์เลสเต้ การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานชนพื้นเมืองในปาปว
ตะวันตก การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา
และการแสดงออกทางการเมือง ของประชาชน และสื่อมวลชนหรือ มีการละเมิดสิทธิระหว่างชาว
มุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ กับชาวอินโดเชื้อสายจีน หรือ ระหว่างชาวมุสลิมกับศาสนิก
โปรแตสแตนท์
ั
โดยปกติหลักการปกครองของรัฐอินโดนีเซียนั้น ได้ยึดถือแนวทาง "ปญจศิลา" กล่าวคือ
ความเป็นรัฐเดียว นับถือพระเจ้าองค์เดียว ประชาธิปไตยจากผู้แทนของกลุ่มที่หลากหลาย รัฐและ
ประชาชนอยู่ด้วยกันบนพื้นฐานของความดีงาม และความเป็นธรรมเพื่อสังคมโดยรวม แต่
อินโดนีเซียภายใต้การปกครองของ ซูฮาร์โตที่ยึดหลัก "อ านาจรัฐคือค าสั่ง" ภายหลังจากการล้อม
ั
ปราบประชาชนที่ชุมนุมกันอย่างสงบในติมอร์ตะวันออกเมื่อปี 2534 กลับต้องฟงเสียงของ
นานาชาติด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น ในปี 2536
ในช่วงเวลานั้นประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็เล่นการเมืองระดับสากลด้วยการเข้าเป็นภาคี
สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในปี 2533
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบในปี 2537 และมีค าสั่ง
ประธานาธิบดีจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในปี 2536 ต่อมาภายหลังการสิ้นอ านาจ
ของประธานาธิบดีซูฮาร์โต อินโดนีเซียจึงได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศอีก 2 ฉบับในปี 2542 คือ อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และอนุสัญญาขจัดการเลือก
ปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และในช่วงรัฐบาลพลเอกซูซิลโล บัมบัง ยุทโธโยโน ได้เสนอ
กฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 2 ฉบับ และบังคับใช้แล้ว
นั่น คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Legislation No. 39/1999 Concern Human Rights) ที่
- 96 -