Page 107 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 107
รายงาน outcome report ซึ่งท าโดยประเทศสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน 3 ประเทศ (troika)
ที่ได้รับเลือกโดยการจับฉลาก และท างานร่วมกับประเทศที่ถูกทบทวนและส านักข้าหลวงใหญ่สิทธิ
มนุษยชน (OHCHR)
หลังจากที่คณะท างาน UPR ได้ท าการทบทวนประวัติด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละ
ประเทศ และได้มีการจัดท ารายงานผลลัพธ์ของการทบทวน outcome report แล้วจะต้องมีการให้
ความเห็นชอบต่อรายงานดังกล่าวโดยที่ประชุม ซึ่งเป็นโอกาสให้ประเทศที่ถูกทบทวนสามารถ
แสดงข้อคิดเห็นต่อข้อเสนอแนะของประเทศต่างๆ และประกาศว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอ
ใดบ้าง อย่างไรก็ดี ข้อเสนอแนะทั้งหมดของประเทศต่างๆ ก็จะต้องปรากฏอยู่ในรายงานเพื่อให้
ทุกประเทศได้เห็น เมื่อรายงานได้ผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุม คณะท างาน UPR แล้วก็จะส่ง
ต่อไปเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเต็มคณะต่อไป ซึ่งเป็น
โอกาสให้ประเทศที่ถูกทบทวนสามารถตอบข้อซักถามของสมาชิกได้อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น
ประเทศสมาชิก และประเทศผู้สังเกตการณ์ ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ก็มีโอกาสที่จะ
แสดงข้อคิดเห็นในวาระนี้ด้วยเช่นกัน
โดยทฤษฏีแล้ว ประเทศต่างๆมีพันธะที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ปรากฏอยู่ในรายงาน
ผลลัพธ์ และเมื่อถึงเวลาที่ประเทศดังกล่าวจะต้องถูกทบทวนเป็นรอบที่ 2 ในเวลาอีก 4 ปีข้างหน้า
ประเทศดังกล่าวก็จะต้องน าเสนอข้อมูลว่า ตนได้ด าเนินการอย่างไรบ้างเพื่อที่จะปฏิบัติตาม
ข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ในกรณีที่บางประเทศไม่ยอมให้ความร่วมมือและไม่ปฏิบัติตามข้อก าหนดอย่าง
ต่อเนื่องคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนก็จะต้องตัดสินใจต่อไปว่าจะใช้มาตรการอย่างไรกับประเทศ
ดังกล่าว
แต่ละประเทศจะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมและขอบเขตอ านาจการเยียวยา
ั
ภายในประเทศก่อน หากกลไกการเยียวยาภายในประเทศไม่สามารถแก้ไขปญหาได้ คณะท างาน
WGC ก็จะรับข้อร้องเรียนและส่งข้อร้องเรียนไปยังรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับข้อมูล
หรือค าชี้แจงเพิ่มเติม จากนั้นก็จะส่งต่อคณะท างาน WGS
2. กลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (Special Procedures) เป็นชื่อโดยทั่วไปที่
ใช้ส าหรับกล่าวถึงกลไกต่างๆ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Commission of
Human Rights) ในอดีต ซึ่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนได้รับช่วงในการดูแลต่อมา มีหน้าที่ใน
ั
การศึกษาติดตามและแก้ไขปญหาสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นรายประเทศ
(Country specific) หรือรายประเด็น (Thematic issues)
กลไกลพิเศษนี้อาจเป็นคณะท างานก็ได้ โดยประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจ านวน 5 คน อาทิ
คณะกรรมการว่าด้วยการหายสาบสูญโดยถูกบังคับหรือโดยการไม่สมัครใจ (Working Group on
- 63 -