Page 105 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 105

4.1.5 วิธีการยื่นเรื่องร้องเรียน

                                                                                ั
                         กระบวนการรับข้อร้องเรียนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในปจจุบันเป็นกลไกที่ตกทอด
                  มาจาก “กระบวนการ 1503” เดิมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลมาจากข้อมติ

                  ESOSOC  ที่ 1503 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2513 โดยกลไกดังกล่าวตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น
                              ั
                  ช่องทางให้ปจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง

                  รุนแรงและเป็นระบบ สามารถยื่นข้อร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมและความช่วยเหลือได้เมื่อมี
                  การยุบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและมีการแต่งตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแทนที่ในปี พ.ศ.

                  2549 ก็ได้มีการทบทวนอาณัติและหน้าที่ของกระบวนการ 1503 ใหม่ เพื่อปรับปรุงให้มีความเป็น

                  กลางมีประสิทธิภาพและ ด าเนินการได้อย่างทันท่วงที เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือเหยื่อการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างทันการ กระบวนการรับข้อร้องเรียนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน

                  เป็นกระบวนการลับซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยัง

                  ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ โดยประเทศผู้ถูกกล่าวว่าท าการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่สามารถทราบได้ว่าใครเป็นผู้ร้องเรียนและสาธารณชนโดยทั่วไปก็ไม่ทราบ
                  ว่ามีการร้องเรียนประเทศดังกล่าว

                         ช่องทางในการยื่นเรื่องร้องทุกข์ ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยัง

                  ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้

                         เปิดโอกาสให้ตัวองค์กรแห่งนี้เป็นผู้ตรวจสอบแล้วน าเรื่องเข้าสู่กระบวนการเอง  HRC

                  สามารถเปิดการประชุมสมัยพิเศษได้ หากมีสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงเกิดขึ้น

                  ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง และจ าเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน



                         4.1.6 การพิจารณารับค าร้อง

                         การรับข้อร้องเรียนเป็นหน้าที่ของคณะท างานสองคณะได้แก่คณะท างานว่าด้วยข้อ

                  ร้องเรียน(Working  Group  on  Communication  -  WGC)  และ คณะท างานว่าด้วยสถานการณ์

                  (Working Group on Situation - WGS) โดยคณะท างาน WGC ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็น
                  ตัวแทนของแต่ละภูมิภาคจ านวน 5         คน มีหน้าที่รับและพิจารณาข้อร้องเรียนว่ามีความ

                  สมเหตุสมผลและสมควรที่จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ซึ่งมีประเด็นส าคัญว่า ข้อร้องเรียนดังกล่าวได้

                  ผ่านกลไกการเยียวยาภายในประเทศจนถึงที่สุดแล้วหรือไม่หากกลไกในประเทศไม่สามารถแก้ไข

                    ั
                  ปญหาได้ คณะท างานก็จะรับข้อร้องเรียนและส่งข้อร้องเรียนไปยังรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้อง
                  เพื่อขอรับข้อมูลหรือค าชี้แจงเพิ่มเติม จากนั้นก็จะจัดท ารายงานเสนอต่อคณะท างานว่าด้วย

                  สถานการณ์ (Working Group on Situation - WGS)


                                                          - 61 -
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110