Page 106 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 106

หากพิจารณาไม่รับเรื่องแล้วมีทางเลือกให้กับผู้ร้องทุกข์ด าเนินการอย่างไร ข้อร้องเรียนที่

                  รับมาแล้วนั้น ต้องผ่านกลไกการเยียวยาภายในประเทศจนถึงที่สุดแล้ว ดังนั้นข้อร้องเรียนที่รับมา

                  จะไม่มีการพิจารณาไม่รับเรื่อง


                         4.1.7 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์


                         จากการค้นคว้างานวิจัยของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ม.ป.ป. : 19 - 21)
                  ได้กล่าวถึงคณะท างานว่าด้วยสถานการณ์ (Working Group on Situation - WGS) ว่ามีหน้าที่

                  พิจารณาข้อร้องเรียนจากคณะท างานว่าด้วยข้อร้องเรียน (Working Group on Communication -

                  WGC)  พร้อมค าชี้แจงของรัฐบาล ซึ่งหากข้อมูลทั้งหมดปรากฏให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างร้ายแรง ก็จะเสนอรายงานพร้อมมาตรการต่างๆ

                  ให้ HRC พิจารณาออกเป็นข้อมติ เพื่อกดดันให้รัฐบาลที่เกี่ยวข้องยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชน



                         4.1.8 การตรวจสอบ และไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

                         กลไกการตรวจสอบและไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน มี 2 กลไก คือ

                         1. กลไก Universal  Periodic  Review  (UPR)  เป็นกลไกใหม่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก
                  ภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน โดยเปิดโอกาสให้มีการพิจารณาทบทวนประวัติการเคารพสิทธิ

                  มนุษยชนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้ง 192  ประเทศ ทุกๆ 4  ปี เป็นกระบวนการที่

                  ด าเนินการโดยรัฐ (State-Led)  ที่ก าหนดให้สมาชิกสหประชาชาติทบทวนสถานการณ์สิทธิ

                  มนุษยชนระหว่างกันเอง (Peer Review) โดยสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศจะถูกทบทวนผ่าน

                  การจัดท าและน าเสนอรายงาน UPR         ต่อที่ประชุม HRC    ในการติดตามและตรวจสอบ

                  ความก้าวหน้า ด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันโดย

                  ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศจะถูกทบทวนทางด้านสิทธิมนุษยชนทุกๆ 4  ปี โดยแต่
                  ละปีจะมีประเทศที่ถูกทบทวนปีละ 48  ประเทศ และมีการจัดประชุมของคณะท างาน UPR

                  พิจารณาเรื่องนี้ปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 สัปดาห์ การทบทวนแต่ละประเทศอาศัยเอกสารที่จัดท าขึ้น

                  เพื่อการนี้ ได้แก่รายงานประจ าชาติ  (National  Report)  ซึ่งประเทศที่ถูกทบทวนได้จัดท าขึ้น

                  นอกจากนั้น ก็อาศัยข้อมูลจากรายงานของผู้เชี่ยวชาญอิสระ ด้านสิทธิมนุษยชนและกลไกด้าน

                  สิทธิมนุษยชนต่างๆและข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น (stakeholders)  รวมทั้งองค์กรพัฒนา

                  เอกชน (non-governmental  organizations)  และสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับชาติของ

                  ประเทศต่างๆ การทบทวนใช้เวลาครั้งละ 3  ชั่วโมง ซึ่งในช่วงดังกล่าวประเทศต่างๆ สามารถตั้ง

                  ค าถามและข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ประเทศที่ถูกทบทวนได้ ทั้งนี้ตอนท้ายที่สุดจะมีการจัดท า


                                                          - 62 -
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111