Page 11 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 11

เดียวกัน ตลอดจนสามารถจัดการที่ดินและทรัพยากรได้อย่างบูรณาการ  รวมทั้งการส่งเสริมเกิดการใช้ที่ดินอย่างมี
               ประสิทธิภาพ  และภายใต้กฎหมายใหม่ ควรปรับปรุงแก้ไขระเบียบวิธีปฏิบัติในการสํารวจพิสูจน์สิทธิรวมทั้งการ

               ออกเอกสารสิทธิ โดยให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วม
                       - ทบทวนระบบการถือครองที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม โดยไม่ควรเกินกว่า 50  ไร่ เพื่อให้เกิดการกระจาย
               การถือครองที่ดิน และทบทวนระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีหลากหลายแบบเป็นมาตรฐานเดียวกันดังนี้

                       ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐ ควรมีเกณฑ์ดังนี้
                       - เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ระบบเดียวคือ “โฉนดที่ดินของรัฐ”  เพื่อให้ที่ดินของรัฐมีหลักฐานขอบเขตที่ตั้งที่

               ถูกต้องและชัดเจน
                       - ในกรณีราษฎรขอเช่าที่ดินของรัฐ ให้จัดทําเป็นสัญญาเช่าที่ดินของรัฐ
                       - ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินเอกชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                       - เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ “โฉนดที่ดิน” ทั่วไป

                       - เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ “โฉนดที่ดิน” แบบมีเงื่อนไข  ซึ่งที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครอง
               เกษตรกรรม และเดิมเป็นที่ดินของรัฐต่อมาจัดให้ราษฎรใช้ประโยชน์ในที่ดิน  เช่น ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินใน
                                         ่
               เขตนิคมสหกรณ์ ที่ดินในเขตปา เป็นต้น โดยมีการกําหนดเงื่อนไขการใช้ประโยชน์ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
               กําหนดระยะเวลาห้ามจําหน่ายจ่ายโอน การซื้อขายที่ดินต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชน
                       - ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                       - เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของชุมชนเป็น “โฉนดที่ดิน” ในที่สาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ประโยชน์
                                                  ่
               ร่วมกัน เช่น หนองนํ้า ทําเลเลี้ยงสัตว์ ปาชุมชน ซึ่งชุมชนมีอํานาจในการบริหารจัดการที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้
               ประโยชน์ร่วมกัน
                                                                        ั
                       - ระบบกรรมสิทธิ์เชิงซ้อน เป็นที่ดินในชุมชนที่มีสิทธิในเชิงปจเจก แต่ชุมชนมีส่วนในการควบคุมให้เป็นไป
               ตามแบบแผนของชุมชนด้วย
                       - ด้านการบริหารจัดการที่ดินที่เป็นเอกภาพ ควรยุบควบรวมหน่วยงานราชการที่ปฏิบัติงานซํ้าซ้อนกันให้

               มารวมกันเป็นหน่วยงานเดียว
                       - รัฐควรส่งเสริมสนับสนุนให้ให้ชุมชนท้องถิ่นมีอํานาจ แรงจูงใจ และความรู้ในการจัดการที่ดินและ
               ทรัพยากรได้อย่างสมดุลและยั่งยืน

                       - การซื้อขายที่ดิน ควรมีกลไกการควบคุมตรวจสอบที่เหมาะสมไม่ให้ผู้ซื้ออาศัยอํานาจเหนือตลาดไปกว้าน
               ซื้อที่ดินเพื่อเก็งกําไรโดยไม่ทําประโยชน์ หรือนําไปใช้ประโยชน์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                       - รัฐควรสนับสนุนให้เกิดกระบวนการนโยบายสาธารณะในการกําหนดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวกับ

               ที่ดินและทรัพยากร ที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
                       - การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากร ควรสร้างกลไกและกระบวนการตีความและบังคับใช้
               กฎหมายให้อยู่บนฐานองค์ความรู้และข้อเท็จจริง


                                            ------------------------------------------------------------------







                                                             ซ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16