Page 99 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 99

77


               5.2 ขอเสนอแนะเพื่อการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
                       ในการเสนอแนะรูปแบบที่เหมาะสมในการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติด

               เชื้อเอชไอวีในที่นี้ คณะผูวิจัย แบงขอเสนอเปน 2 แบบ คือ ขอเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวของกับกฎหมาย ซึ่ง
               ไดมาจากการทบทวนแนวคิดหลักความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ หลักการสิทธิมนุษยชนและ
               มาตรฐานสากลที่เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีโดยสังเคราะหรวมกับ
               ผลการศึกษาสภาพและสาเหตุการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในบริบทประเทศไทย

               และแบบที่สองเปน ขอเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบ
               อาชีพของผูติดเชื้อ โดยใชมาตรการอื่นๆ แตละสวนมีรายละเอียดดังนี้


                       5.2.1  ขอเสนอเชิงนโยบายและขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติในการ
                              ประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี

                       แมวารัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีบทบัญญัติเพื่อคุมครองบุคคลจาก

               การเลือกปฏิบัติ ดังที่ปรากฏในมาตรา 30 วรรคสาม แตกฎหมายที่ใชในการคุมครองสิทธิของผูประสบปญหา
               ถูกเลือกปฏิบัติยังมีลักษณะกระจัดกระจาย เชน ในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพงและ
               พาณิชย อีกทั้งผูประสบปญหาการเลือกปฏิบัติก็ไมสามารถเขาถึงกลไกการคุมครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญได
               โดยตรง จึงมีความจําเปนตองพิจารณาบัญญัติกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติ ที่กําหนดบรรทัดฐานที่ชัดเจนใน

               การคุมครองกรณีการถูกเลือกปฏิบัติทั้งที่หนวยงานรัฐและหนวยงานภาคเอกชนตองปฏิบัติตาม อันจะเปน
               แนวทางหนึ่งในการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติที่ปรากฏในระเบียบปฏิบัติของหนวยงานตางๆ รวมทั้ง การ
               สรางกลไก/กระบวนการคุมครองสิทธิที่ผูถูกละเมิดสิทธิสามารถเขาถึงไดโดยตรง ดังนั้น จําเปนตองมีการ

               ผลักดันกฎหมายเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ หรือกฎหมายเพื่อความเสมอภาคในภาพรวมในลักษณะเดียวกับ
               กฎหมายเสมอภาคของประเทศสหราชอาณาจักร และเพื่อลดปญหาการซ้ําเติมการเลือกปฏิบัติ และเสริม
               พลังการขับเคลื่อนกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้ ไมจําเปนตองเปนกฎหมายเฉพาะสําหรับผูติดเชื้อเอชไอวี แต
               ตองสังเคราะหรวมกับปญหาการเลือกปฏิบัติในกลุมอื่นๆ ไดแก กลุมคนพิการ ผนวกกลุมเปาหมายอื่นที่
               ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติดวย โดย

                   (1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ผลักดันโดยตรงดวยการเสนอแนะนโยบายและขอเสนอในการ
                       ปรับปรุงกฎหมายและกฎที่มีเนื้อหาขจัดการเลือกปฏิบัติ ตอรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี เพื่อคุมครอง
                       สงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชนตอผูที่สุมเสี่ยงตอการถูกเลือกปฏิบัติ ตามอํานาจหนาที่ของ

                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ในบทบัญญัติ มาตรา 257(5) ของรัฐธรรมนูญแหง
                                                     175
                       ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  โดยกําหนดใหมีเนื้อหาที่ครอบคลุมการขจัดการเลือกปฏิบัติ
                       ตอกลุมผูติดเชื้อเอชไอวี ผูที่ไดรับผลกระทบจากเชื้อเอชไอวี รวมถึงกลุมเปาหมายอื่นๆ  ที่ประสบ
                       ปญหาการเลือกปฏิบัติ

                          โดยแนวทางในการบัญญัติกฎหมายดังกลาวจะตอง
                       -  ตั้งอยูบนพื้นฐานแหงสิทธิ (Rights based)
                       -  มีมิติเพื่อตอบสนองตอหญิงชายอยางเทาเทียม (gender responsiveness)





               175  รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 (5) “เสนอแนะนโยบายและขอเสนอในการพัฒนา
               กฎหมาย และกฏ ตอรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีเพื่อสงเสริมและคุมครองสิทธิมนุษยชน”
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104