Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 94

72


                                                         บทที่ 5

                                                 บทสรุปและขอเสนอแนะ


                       เนื้อหาในบทนี้ เปนการวิเคราะหและสรุปสถานการณในการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของ
               ผูติดเชื้อเอชไอวี การวิเคราะหสาเหตุและปจจัยที่ทําใหเกิดปญหา รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเลือก
               ปฏิบัติในการประกอบอาชีพ ประกอบกับ การวิเคราะหแนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคในการประกอบ

               อาชีพจากกฎหมายในประเทศและระหวางประเทศ รวมไปถึงหลักการ มาตรการ แนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวของกับ
               การปกปองและคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ กอนจะนําเสนอขอเสนอแนะเพื่อการแกไข
               ปญหาตอไป


               5.1  สถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีผลกระทบและเหตุปจจัย
                       5.1.1  สถานการณการเลือกปฏิบัติ
                       แมวารัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีบทบัญญัติที่วาดวยความเสมอภาค
                                                       174
               และการไมเลือกปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสาม  และมีแนวปฏิบัติการปองกันและจัดการดานเอดสในสถาน
               ประกอบกิจการของกระทรวงแรงงาน และแนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดส
               ในสถานที่ทํางาน ที่ออกโดย คช.ปอ. แตจากขอมูลจากการศึกษา ทั้งจากการทบทวนเอกสารและการเก็บ
               ขอมูลภาคสนามของโครงการ พบวา ในปจจุบันสถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ

               เอชไอวี ยังปรากฏในทั้ง 3  ระดับ คือ ระดับกฎหมาย/นโยบาย ระดับสถาบันและระดับชุมชน ดังแสดง
               รายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

                       (1) การเลือกปฏิบัติระดับกฎหมาย มีการเลือกปฏิบัติในระเบียบยอยขององคกรบางแหง ในขั้นตอน
               ของการรับสมัครงาน โดยเฉพาะที่ปรากฏในระเบียบของขาราชการตํารวจ และขาราชการฝายตุลาการ
               อยางไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณในตางประเทศ แมในประเทศที่มีกฎหมายหามเลือกปฏิบัติ อยางใน

               กรณีเครือรัฐออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรเอง ก็ยังคงมีขอยกเวนในสถานการณดังกลาว ไดแก หลักการ
               คุณลักษณะที่สําคัญอยางยิ่งตอการปฏิบัติงานประเภทนั้น ในคําพิพากษาศาลสูงในคดี X  v
               Commonwealth ของเครือรัฐออสเตรเลีย ในกรณีของการปฏิบัติหนาที่ทหาร ซึ่งใหความสําคัญกับสุขภาพ

               ที่แข็งแรง หรือในขอยกเวนในการไมปฏิบัติตามกฎหมายการเลือกปฏิบัติในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่ง
               ยกเวนไมบังคับในกรณีการประกอบอาชีพ เชน การรับราชการทหาร ตํารวจ และองคกรวิชาชีพ เชน เนติ
               บัณฑิตยสภา (รายละเอียดดูในบทที่ 2)
                       แมวาจะมีความพยายามใหมีการปรับปรุงแกไขระเบียบทั้ง 2 ฉบับในประเทศไทย แตดูเหมือนความ
               พยายามดังกลาวจะไมประสบผล การเลือกปฏิบัติในระดับกฎหมายในประเทศไทย จึงเปนเรื่องที่แกไขไดยาก

               ที่สุด อยางไรก็ดี สําหรับกรณีผูติดเชื้อที่ทํางานในองคกรเหลานั้นอยูแลวในประเทศไทย เชน ในสังกัดสํานักงาน
               ตํารวจแหงชาติ ก็มีการรับรองเปนลายลักษณอักษรวา จะใหการสนับสนุนและใหปฏิบัติงานตามปกติ


               174  รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 วรรคสาม  “การเลือกปฏิบัติโดยไมเปนธรรมตอบุคคล
               เพราะเหตุแหงความแตกตางในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของ
               บุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไมขัดตอ

               บทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ จะกระทํามิได”
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99