Page 34 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 34
13
ในอดีตและปจจุบันหรือความแตกตางในการเขาถึงทรัพยากร หรืออํานาจดังนั้นผลกระทบและ
วัตถุประสงคของมาตรการจะตองไดรับการพิจารณา
- ความเสมอภาคในโอกาส หมายถึง การที่บุคคลทุกคนจะตองมีโอกาสที่เทาเทียมในการเขาถึง
ประโยชน โดยพิจารณาถึงความแตกตางของแตละบุคคล ความเสมอภาคในโอกาสมีจุดมุงหมาย
เพื่อโอกาสที่เทาเทียมไมใชผลลัพธที่เทาเทียม
สําหรับ การเลือกปฏิบัติ หมายถึง การปฏิบัติ (การกระทําหรือการละเวน) ที่ไมเปนธรรมตอบุคคล
หรือกลุมบุคคลอันเนื่องจากความแตกตางในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อาทิ เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ภาษา เปนตน
โดยไมคํานึงวาการกระทําดังกลาวจะมีเหตุผลหรือไม ในมุมมองของกฎหมาย การเลือกปฏิบัติจะเปนการ
กระทําที่ไมเปนธรรมและตองหามก็ตอเมื่อเปนการกระทําเมื่อพิจารณาจากวัตุประสงค สัดสวนของการกระทํา
และผลกระทบอันจะนําไปสูความไมเสมอภาคเทาเทียมการเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นไดทั้งทางตรงและทางออม
(direct and indirect discrimination)
- การเลือกปฏิบัติทางตรง หมายถึง การปฏิบัติตอบุคคลหรือกลุมบุคคลใดโดยแตกตางไปจาก
บุคคลหรือกลุมบุคคลอื่นอันเนื่องมาจากความแตกตางในทางเชื้อชาติ เพศ ความพิการ
เปนตน
- การเลือกปฏิบัติทางออม มักจะเกิดขึ้นเมื่อการปฏิบัติ กฎเกณฑ หรือขอกําหนดดูเหมือนวา
จะมีความเปนกลาง แตในความเปนจริงสงผลกระทบตอบุคคคลหรือกลุมบุคคลใดโดยเฉพาะ
เวนแตการปฏิบัติ กฎเกณฑ หรือขอกําหนดดังกลาวมีเหตุผลเพียงพอ ดังนั้นรัฐจึงมีความ
จําเปนที่จะตองพิจารณาถึงความแตกตางระหวางกลุมบุคคลและผลกระทบจากการปฏิบัติ
12
นั้นดวย
ดังนั้นการพิจารณาวาการปฏิบัติจะนํามาสูการเลือกปฏิบัติหรือไมตองพิจารณาจากองคประกอบที่
กลาวมาขางตน กลาวคือ การกระทํากอใหเกิดความแตกตางในการปฏิบัติ และกอใหเกิดผลกระทบที่เกิดจาก
ความแตกตางที่หามมิใหมีการเลือกปฎิบัติอยางชัดเจน
กลาวโดยสรุป หลักความเสมอภาคและการไมเลือกปฏิบัตินั้น ถือเปนเหรียญสองดานของหลักการ
เดียวกัน กลาวคือ ความเสมอภาคเทาเทียมจะเกิดขึ้นไดก็ตอเมื่อปราศจากการเลือกปฏิบัติ และการไมเลือก
ปฎิบัติระหวางกลุมบุคคลโดยมีพื้นฐานอันเนื่องมากจากความแตกตางก็จะนํามาซึ่งความเสมอภาค อยางไรก็ดี
ในสถานการณที่แตกตางกันนั้น เพื่อประโยชนแหงความยุติธรรมและเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ําแตกตางที่ดํารง
อยู หากมีการเลือกปฏิบัติ ใหถือวาเปนการเลือกปฏิบัติที่เปนธรรมและไมถือวาขัดแยงกับหลักความเสมอ
ภาค ทั้งนี้เนื่องจากความเสมอภาคในที่นี้มิไดหมายความวา ทุกคนจะตองไดรับการปฏิบัติอยางเดียวกันในทุก
เรื่อง แตใหใชเกณฑสถานการณหรือสภาพ หากเปนอยางเดียวกันทุกคนจะตองไดรับการปฏิบัติเชนเดียวกัน
ในขณะที่มีความแตกตางกันโดยสภาพ หรือสถานการณ การปฏิบัติที่ตางกันอาจถือวาเปนธรรมหากมีความ
สอดคลองกับวัตถุประสงคของกฎหมาย
กลาวไดวาหลักความเสมอภาคและหลักการไมเลือกปฏิบัติถือเปนหลักการแหงสิทธิมนุษยชนที่สําคัญ
ซึ่งปรากฎอยูในตราสารระหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชนหลายฉบับดวยกัน อาทิ กฎบัตรสหประชาชาติ 13
12
Sandra Fredman, Discrimination Law, Second Edition, Oxford University Press, 2011และ Anne Bayefsky,
The Principle of Equality and Non-Discrimination in International Law, 11 HRLJ (1990)
13 Charter of the United Nations, 1945, Preamble, Art.1(2), 3, 13 (1)(b), 55 (c) and 77 (C) วาดวยขอหามในการ
เลือกปฏิบัติดวยเหตุเชื้อชาติ เพศ ภาษา และ ศาสนา