Page 114 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 114

105


                                                          บทที่ 6


                                                     สรุป และเสนอแนะ



                   6.1   สรุปผลงานวิจัย

                         ในประเทศไทยนับแตป  พ.ศ.  2545  เปนตนมา มีการรวมตัวกันของรานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่นและ

                  หรือรานคาปลีกสมัยใหมของกลุมทุนไทยเพื่อคัดคานและตอตานธุรกิจคาปลีกขนาดใหญของกลุมทุนตางชาติ
                  ที่เขามาประกอบกิจการหรือขยายสาขาในประเทศไทย ในระยะเริ่มตนของปฏิกิริยาเปนการตอตานจาก
                  กลุมทุนทองถิ่น ตอมา ภายหลังรานคาปลีกดั้งเดิมขนาดเล็กหรือที่เรียกในภาษาพื้นบานวา “รานโชหวย” ไดเขา

                  รวมการตอตานอยางตอเนื่อง และไดขยายเขตออกไปทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้ เพราะตั้งแตป พ.ศ. 2550
                  เรื่อยมาจนปจจุบัน ธุรกิจคาปลีกขนาดใหญไดดําเนินกลยุทธทางการตลาด โดยปรับรูปแบบใหมีขนาดเล็กลง
                  และลดขนาดพื้นที่รานคา เพื่อขยายกิจการสาขาไปสูชุมชนระดับยอย เชน อําเภอ ชุมชนทองถิ่น และหมูบาน
                  การดําเนินการในลักษณะดังกลาวสงผลกระทบตอรานคาปลีกดั้งเดิมในทองถิ่น ทําใหรานคาปลีกดั้งเดิม
                  ตองปดกิจการหลายราย โดยรานคาปลีกดั้งเดิมที่ประสบปญหาไดเรียกรองใหรัฐกําหนดมาตรการในการควบคุม

                  และปองกันผลกระทบของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญที่มีตอรานคาดั้งเดิมทองถิ่นเรื่อยมา

                          งานวิจัยนี้ พบวา ภาครัฐไดตอบสนองโดยการพยายามสรางมาตรการตางๆ เพื่อชวยเหลือและแกไข
                  ปญหาที่เกิดขึ้น อาทิ โครงการรวมพลังโชหวยสูวิกฤติ หรือการจัดตั้ง บริษัท รวมคาปลีกเขมแข็ง จํากัด (ART)
                  หรือการจัดอบรมใหความรูดานการบริหารจัดการรานคาปลีกสมัยใหมแกผูประกอบธุรกิจคาปลีกขนาดกลาง
                  และเล็ก หรือการเชื่อมโยงเครือขายธุรกิจคาปลีก รานคาสง ผูผลิต และผูแทนจัดจําหนาย และ มีนโยบายใน

                  การใชมาตรการทางกฎหมายที่มีอยูแลวมาแกไขปญหาของการขยายสาขาธุรกิจคาปลีกตางชาติในระดับยอย
                  ไดแก กฎหมายผังเมือง และกฎหมายควบคุมอาคาร และยังไดอาศัยกฎหมายการแขงขันทางการคาเขาชวย
                  สนับสนุนในกรณีที่ธุรกิจคาปลีกขนาดใหญรายใดมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเอาเปรียบผูประกอบธุรกิจอื่น หรือ

                  ผูกขาดตัดตอนทางการคา รวมถึงกฎหมายคุมครองผูบริโภคสําหรับกรณีที่มีพฤติกรรมเอาเปรียบผูบริโภค
                  ประกอบดวย ซึ่งจัดไดวาเปนการใชมาตรการกฎหมายทางออม

                         ในสวนมาตรการทางกฎหมายโดยตรงนั้น พบวา ภาครัฐไดพยายามผลักดันรางพระราชบัญญัติ
                  การประกอบธุรกิจคาปลีกคาสง พ.ศ. …. ซึ่งมีวัตถุประสงคควบคุมการจัดระเบียบการประกอบธุรกิจคาปลีก
                  คาสง เพื่อใหการประกอบธุรกิจคาปลีกคาสงทุกประเภท สามารถดํารงอยูไดตามสภาพทางเศรษฐกิจการคา

                  และสภาพแวดลอมในแตละทองถิ่น แตการตรากฎหมายฉบับนี้ ถูกวิพากษวิจารณโดยผูมีสวนเกี่ยวของวา
                                                                                             1
                  ไมไดชวยผูคารายยอย ซึ่งสถานภาพปจจุบันยังคงอยูในระหวางขั้นตอนการตราเปนกฎหมาย0

                  1
                    นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน ประธานสมาคมผูคาปลีกไทย กลาวแสดงความคิดเห็นวา สมาคมตองการใหรัฐบาล
                  ปจจุบัน ยกเลิกการผลักดันรางพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คาปลีกคาสง พ.ศ. .... กลับมาพิจารณาอีกครั้ง
                  จากขณะนี้ อยูระหวางการพิจารณาของสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม
                  โดยที่สมาคมออกมาเคลื่อนไหวใหรัฐบาลมีการทบทวนการออก พ.ร.บ.ดังกลาว เพราะเห็นวาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล

                  ก็จะตองออกมาแสดงเจตนารมณใหทราบ ขณะที่ราง พ.ร.บ.คาปลีกฯ หากคลอดกฎหมายออกมาจะสงผล
                  กระทบตอผูประกอบการไทยในอนาคต โดยเฉพาะการเปดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในป 2558
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119