Page 116 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 116

107


                  ของกลุมทุนตางชาติ กลุมทุนเหลานี้จึงไดเขามาประกอบกิจการและลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
                  รวมถึงการลงทุนสาขาธุรกิจคาปลีกดวยเชนกัน

                         นอกเหนือจากผลกระทบที่มีตอรานคาปลีกดั้งเดิมแลว เอกสารวิจัยฉบับนี้ ยังไดแสดงใหเห็นถึง
                  ผลกระทบทางสังคมของการรับนโยบายการเปดเสรีทางการคา (ธุรกิจคาปลีก) ซึ่งมีผลตอการเปลี่ยนแปลง

                  ทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน ซึ่งเปนปจจัยสําคัญตอการเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชนในระยะยาวอีกดวย
                  หากแตการเปลี่ยนแปลงนี้ เปนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปลุกปน มิไดเกิดขึ้นตามความตองการของ
                  ชุมชน และมีพยานหลักฐานที่ยืนยันวา สิทธิของชุมชนที่จะเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสม และความสุขทางสังคม
                  ที่ยั่งยืนไดถูกทําลายไป เพราะการยอมรับใหกระบวนการคาปลีกเขาแทรกซึมวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อประโยชน

                  ทางการคา และการคากําไรอยางปราศจากขอจํากัด

                          เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของตางประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุน ประเทศสหรัฐอเมริกา
                  พบวา มีการใชมาตรการทางกฎหมายในลักษณะของการกําหนดรายละเอียดปลีกยอยทางออม ในการปองกัน
                  ผลกระทบของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญที่มีตอรานคาดั้งเดิมทองถิ่น เชน การจัดระเบียบการจราจร การจัด
                  ระเบียบพื้นที่ตั้ง หรือมาตรการเพื่อความปลอดภัย เปนตน งานวิจัยนี้พบวามาตรการทางกฎหมายมิไดเปน

                  ปจจัยที่มีนัยสําคัญในการปกปองรานคาดั้งเดิมทองถิ่น แตปจจัยที่ทําใหธุรกิจคาปลีกขนาดใหญไมกลืนกิน
                  รานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่นหรือรานคากลุมทุนชาติ ไดแก “การสรางจิตสํานึกรวมกัน”  ของปจเจกชน
                  ชุมชน และสังคม ใหตระหนักถึงคุณคาในความดีของการมีอยูของรานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่น ซึ่งเปรียบไดกับ
                  “กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจชุมชน”  และความงามของความหลากหลายในการประกอบอาชีพของ

                  คนทองถิ่น โดยยึดโยงกับกระบวนทัศนเรื่องการพัฒนาที่สมดุลอยางยั่งยืนอันมีสิทธิมนุษยชนควบคูกับ
                  ศักดิ์ศรีความเปนมนุษยเปนปจจัยหลักในการพัฒนาประเทศสืบไป

                  6.2   ขอเสนอแนะเชิงนโยบาย


                         ผูวิจัยเสนอความเห็นวา ควรทบทวนการอนุญาตในเรื่องการขยายตัวของรานคาปลีกสมัยใหม
                  โดยชะลอไวเปนการชั่วคราวกอน และพิจารณาถึงความเปราะบางของชุมชน โดยรัฐตองปกปกษรักษา

                  สิทธิมนุษยชนควบคูไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทิศทางพัฒนาประเทศของไทยควรวางอยูบนกรอบความคิด
                  เรื่อง “การพัฒนาอยางยั่งยืน” (Sustainable Development) ตามที่ไดกําหนดอยูในแผนพัฒนาประเทศและ
                  แนวนโยบายพื้นฐานแหงรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน รัฐตองบูรณาการกรอบความคิดในการบริหารงาน
                  ของภาครัฐ โดยการบริหารปกครองของภาครัฐในระบอบประชาธิปไตยนั้น ตองคํานึงถึงสิทธิในการพัฒนา
                  ซึ่งมีหลักสําคัญประการแรกวา ภาครัฐมีหนาที่จัดระเบียบทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมตอการพัฒนาคุณภาพ

                  สังคมและสิ่งแวดลอม  ประการที่สอง ภาครัฐมีหนาที่ตองกระจายรายไดเพื่อใหเกิดความเปนธรรมแกคน
                  ในสังคม และประการสุดทาย คือ การคุมครองสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ นโยบายขางตนตองไดรับ
                  การถายทอดไปสูหนวยงานภาครัฐสวนทองถิ่น การสรางเครือขายความรวมมือระหวางภาครัฐ ภาคธุรกิจ

                  และภาคประชาชนมีความจําเปนอยางยิ่งยวดตอการขับเคลื่อนนโยบายไปสูภาคปฏิบัติอยางจริงจัง
                  โดยกอนที่จะดําเนินมาตรการในทางปฏิบัติใดๆ ภาครัฐควรมีการชะลอการอนุญาตขยายตัวของรานคาปลีก
                  สมัยใหมไวเปนการชั่วคราวกอน จนกวาจะแนใจวารัฐมีกลไกคุมครองที่พรอมเพรียงแลว
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121