Page 109 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 109

100


                                เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศญี่ปุนแลว จะพบวา เจตนารมณของกฎหมาย

                  ดังกลาวมีวัตถุประสงคโดยตรงเพื่อการรักษาสภาพแวดลอมของพื้นที่โดยรอบ และคํานึงถึงผลกระทบตอ
                  รานคาปลีกดั้งเดิมทองถิ่น รวมถึงเศรษฐกิจชุมชน เชนเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลแหงทองถิ่น
                  ไดตรากฎหมายทองถิ่น เพื่อปองกันผลกระทบในดานสิ่งแวดลอม เศรษฐกิจชุมชน สภาพแวดลอมความ
                  ปลอดภัยและความสะดวกในดานการจราจร และเรื่องคุณคาทางวัฒนธรรม


                                ขอสังเกต มาตรการทางกฎหมายของประเทศทั้งสองไดรับการผลักดันจากรานคาปลีก
                  รายยอย สังคม ชุมชน และนักการเมืองทองถิ่น เพื่อรักษาผลประโยชนของสังคมทองถิ่น แตรูปแบบการ
                  กําจัดสิทธิตองพลิกแพลงเปนเรื่องสิ่งแวดลอม ผังเมือง และวิถีชุมชน

                                ข. กฎหมายควบคุมอาคาร ที่มีเจตนารมณเพื่อกําหนดมาตรการในดานการควบคุม
                  เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การปองกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพ

                  สิ่งแวดลอม การผังเมือง การสถาปตยกรรม และการอํานวยความสะดวกแกการจราจร มิใชเรื่องการกําจัด
                  การขยายสาขาของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญโดยตรง ดังนั้น จึงตองขึ้นอยูกับเจาหนาที่ของรัฐที่เปนผูถือ
                  ปฏิบัติตามกฎหมาย จะอาศัยกฎหมายดังกลาวเพื่อปกปองสิทธิของประชาชน ดังเชนตางประเทศตามที่ได
                  อางถึงขางตน

                             (2) ตามที่ไดกลาวไวในบทที่ 3 วาปจจุบันมีการรางกฎหมายชื่อวา “รางพระราชบัญญัติการ

                  ประกอบธุรกิจคาปลีกคาสง พ.ศ. ....” ซึ่งอยูในขั้นตอนการตรากฎหมายและยังไมเปนกฎหมาย
                             รางกฎหมายนี้มีขึ้นเพื่อจัดระเบียบการประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสงบางประเภท เพื่อให

                  การประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสงทุกประเภทดํารงอยูไดตามสภาพเศรษฐกิจการคาและสภาพแวดลอมใน
                  แตละทองถิ่น รวมทั้งใหมีมาตรการการสงเสริมและพัฒนาธุรกิจคาปลีกหรือคาสงรายยอยดั้งเดิม โดยจัดให
                  มีคณะกรรมการประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสง ทําหนาที่กําหนดนโยบาย มาตรการ และแผนการจัดระบบ

                  การประกอบธุรกิจคาปลีกหรือคาสง รวมทั้งเสนอแนะตอรัฐมนตรี เพื่อกําหนดนโยบายสนับสนุนสงเสริม
                  และพัฒนาธุรกิจคาปลีกหรือคาสงรายยอยดั้งเดิมใหมีการเชื่อมโยงเปนเครือขายธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อลดตนทุน
                  สินคา คาขนสง และเพื่อใหเกิดประสิทธิภาพและมีความเขมแข็ง

                             อยางไรก็ตาม ดวยสถานการณของการรุกขยายสาขาธุรกิจการคาปลีกขนาดใหญ ทําใหมีการ
                  กลาววา กวาที่กฎหมายฉบับดังกลาวนี้จะถูกประกาศใช รานคาปลีกดั้งเดิมก็คงตายหมด หรือกวาถั่วจะสุก

                  งาก็ไหม และที่สําคัญเมื่อธุรกิจคาปลีกขนาดใหญไดขยายสาขารุกคืบอยางสมบูรณแลว การมีกฎหมาย
                  ดังกลาว อาจเปนการกีดกันผูประกอบการรายใหมที่จะเขาสูตลาดคาปลีกก็เปนไปได



                  5.2   ผลกระทบของธุรกิจคาปลีกขนาดใหญกับการคุมครองสิทธิมนุษยชน

                         5.2.1 การละเมิดสิทธิมนุษยชนทางกระบวนทัศนและนโยบายของรัฐ :  รัฐตองใหความสําคัญ

                  ตอระบบเศรษฐกิจเสรีที่เปนธรรม

                             1) ภาครัฐในฐานะเปนผูกําเนิดกติกา ซึ่งมีหนาที่กํากับดูแลและควบคุมผูเลนตองมีหนาที่
                  สําคัญในการวางกรอบกติกาเพื่อใหเกิดความเสมอภาคอยางเปนธรรม
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114