Page 108 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยผลกระทบธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 108

99


                  ใหมีศักยภาพในการแขงขัน กอนเปดเสรีภาคการเงินอยางเต็มรูปแบบภายใตกรอบองคการการคาโลก เชน

                  ในระหวางการปฏิรูปสถาบันการเงิน มีนโยบายไมอนุญาตใหใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถาบันการเงินแก
                  นักลงทุนรายใหม ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนทัศนของรัฐมองวาธุรกิจสถาบันทางการเงินเปนตัวกลางของระบบ
                  เศรษฐกิจ (หัวใจ) หรืออาจขยายบทบาทเปนระบบเศรษฐกิจในอนาคตตามรูปแบบ Universal Banking ที่
                  เปนเชนนี้ เพราะรัฐมองวา ธุรกิจคาปลีก (คนชาติ) เปนเพียงภาคธุรกิจซึ่งถือเปนสวนยอยหนึ่งของระบบ

                  เศรษฐกิจของประเทศเทานั้น โดยปราศจากการยึดโยงความสัมพันธของธุรกิจคาปลีก (คนชาติ) กับคุณภาพ
                  ชีวิตคน (สังคม) รากฐานวัฒนธรรม และสภาพแวดลอม อันเปนรากฐานสําคัญสําหรับการคุมครอง
                  สิทธิมนุษยชนที่ยอมรับกันเปนสากล

                         การเปรียบเทียบขอเท็จจริงดังกลาว ยืนยันไดวา ธุรกิจคาปลีกที่ผูประกอบกิจการเปนกลุมทุน
                  ครอบครัวขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือกลุมทุนทองถิ่น ซึ่งมีอยูจํานวนมาก และกระจายไปทุกภาคสวนของ

                  ประเทศถูกปลอยปละละเลย แตรัฐกลับสนับสนุนใหกลุมทุนขนาดใหญเขามาทําธุรกิจนี้ โดยปราศจากการมี
                  มาตรการรองรับที่เหมาะสม นั่นเทากับเปนการตอกย้ํากระบวนทัศนของรัฐที่ใหความสําคัญของการพัฒนา
                  เศรษฐกิจระดับยอดมากกวาเศรษฐกิจรากฐาน

                         2) มาตรการทางกฎหมาย

                             (1) โดยที่ปจจุบันมีความพยายามในการอาศัยกฎหมายที่มีอยูเปนเครื่องมือในการตอสูเพื่อ

                  ปองกันมิใหเกิดธุรกิจคาปลีกขนาดใหญขยายสาขาลงสูระดับชุมชนยอย ดังนี้
                                ก. กฎหมายผังเมือง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความหมายของคําวา “การผังเมือง” ตามมาตรา 4

                  แหงพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งใหความหมายวา การวาง จัดทําและดําเนินการใหเปนไป
                  ตามผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะในบริเวณเมืองและบริเวณที่เกี่ยวของหรือชนบท เพื่อสรางหรือพัฒนา
                  เมืองหรือสวนของเมืองขึ้นใหม หรือแทนเมืองหรือสวนของเมืองที่ไดรับความเสียหาย เพื่อใหมีหรือทําให

                  ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะความสะดวกสบาย ความเปนระเบียบ ความสวยงาม การใชประโยชนในทรัพยสิน
                  ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อสงเสริมการเศรษฐกิจ สังคม และ
                  สภาพแวดลอมเพื่อดํารงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชนหรือคุณคาในทางศิลปกรรม
                  สถาปตยกรรม ประวัติศาสตร หรือโบราณคดี เพื่อบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศที่งดงามหรือ

                  มีคุณคาในทางธรรมชาติ เห็นวา

                                   - แมวาเจตนารมณของกฎหมายผังเมือง มิไดมีวัตถุประสงคสําหรับการปองกัน
                  ผลกระทบของธุรกิจขนาดใหญโดยตรงก็ตาม แตเปนเรื่องการจัดระเบียบในการใชพื้นที่หรือการทําโซนนิ่ง
                  เพื่อจัดพื้นที่สงเสริมทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดลอม หรือเพื่อรักษาความงามทางสถาปตยกรรม หรือ
                  รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งการบังคับใชกฎหมายดังกลาวจะมีประสิทธิภาพหรือไมตองขึ้นอยูกับหลักคิด

                  ของภาครัฐ/รัฐบาลทองถิ่นวา ไดตระหนักถึงคุณคาของรานคาปลีกดั้งเดิมในฐานะเปนสวนหนึ่งของชุมชน
                  ทองถิ่นหรือไม
                                   - การบังคับใชกฎหมายในประเทศไทยควรหลีกเลี่ยงการตีความ หรือการใชดุลพินิจเพื่อ

                  ปรับใชกฎหมาย เชน เจตนารมณของกฎหมายที่กําหนดวา “เพื่อสงเสริมเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดลอม” ซึ่ง
                  อาจตีความไดวา ธุรกิจคาปลีกขนาดใหญที่ขายสาขา/กิจการ ทั้งการจัดตั้งหางรานขนาดใหญ หรือลดขนาด
                  พื้นที่ เปนการกระทบตอเศรษฐกิจชุมชน และคุณภาพของคน (สังคม) เพราะทําใหรานคาปลีกดั้งเดิมตองปด
                  กิจการหรือไดรับผลกระทบ หรืออาจตีความไดเชนกันวา ธุรกิจคาปลีกขนาดใหญทําใหประชาชนในพื้นที่ไดรับ
                  ความสะดวก มีการกระตุนทางเศรษฐกิจจังหวัด และสงเสริมภาพลักษณจังหวัดในการเรื่องความเจริญ เปนตน
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113