Page 49 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 49
37
เช่น ข้อคิดเห็นร่วมอันส าคัญ ล าดับที่ 14 (General Comment No 14) เกี่ยวกับสิทธิที่จะ
ได้รับมาตรฐานด้านสุขภาพสูงสุดเท่าที่จะมีได้ คณะกรรมการประจ ากติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้ชี้ให้เห็นว่ารัฐมีพันธะหน้าที่ที่เป็นรูปธรรมต่อ “สิทธิในสุขภาพ” เช่น ต้องมี
มาตรการดังต่อไปนี้
การรับรองสิทธิในสุขภาพไว้ในระบบกฎหมายและนโยบายสังคม
มีโครงการบริการวัคซีนปูองกันโรคที่ส าคัญ
มีการฝึกอบรมแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์อย่างเพียงพอและเหมาะสม
มีระบบประกันสุขภาพส าหรับประชาชน
มีกฎหมายและมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการท างาน ความปลอดภัยจาก
อุบัติเหตุและมลพิษ
แม้ว่าข้อคิดเห็นร่วมอันส าคัญไม่มีพันธกรณีทางกฎหมายโดยตัวเอง แต่การที่จัดท าขึ้นโดย
องค์กรที่มีอ านาจหน้าที่ในการตีความและการพิจารณาข้อบทตามสนธิสัญญา เป็นการช่วยอธิบายเนื้อหาและ
การปกปูองสิทธิตลอดจนพันธกรณีของรัฐในการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดว่าเป็นกฎหมายที่ควรมีหรือ Soft
Law/ lex ferenda หรือเป็นแหล่งที่มาประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ ตามธรรมนูญศาลยุติธรรม
55
ระหว่างประเทศ ข้อ 38 ย่อมเป็นเหตุผลที่มีน้ าหนักและใช้เป็นแรงกดดันทางด้านศีลธรรมและทางการเมือง
อนึ่ง โครงการจัดตั้งส านักงานสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แปล General
56
Comments ของคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญาต่างๆ ไว้ นับตั้งแต่คณะกรรมประจ าสนธิสัญญานั้นๆ เริ่ม
ด าเนินการ จนถึง พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ดังนั้น คณะผู้ศึกษาจึงใช้เนื้อหาถ้อยค าดังที่ผู้แปลได้แปลไว้ โดย
การดึงมาใช้เฉพาะเนื้อหา ส่วนข้อคิดเห็นร่วมอันส าคัญ ที่คณะกรรมการฯ มีขึ้นหลังจาก พ.ศ. 2543 (ค.ศ.
2000) เป็นถ้อยค าที่คณะผู้ศึกษาได้แปลสรุปความเองเพื่อประโยชน์ในการศึกษาครั้งนี้
55 op. cit. supra note 21
56
General Comments on Civil and Political Rights adopted by the Human Rights Committee แปลโดย
มุกดาวรรณ ศักดิ์บุญ และ วีระ สมบูรณ์ เป็นบรรณาธิการแปล ; General Comments on Economic Social and
Cultural Rights adopted by the Economic Social and Cultural Rights Human Rights Committee แปลโดย
ศรีประภา เพชรมีศรี และ ปราณี เก้าเสี้ยน และ วีระ สมบูรณ์ เป็นบรรณาธิการแปล