Page 408 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 408
330
คุณเอมอร เสียงใหญ่ (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) - ค่าจ้างแรงงาน การตรวจสอบ ส่งเสริม
สิทธิ นํามาเป็นตัวชี้วัด
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - มีเพิ่มเติมทางด้านตัวชี้วัดของเศรษฐกิจที่จะเป็นต่อประชากรสตรีหรือ
ผู้หญิง คือ เวลาเราดูตัวชี้วัดพวกนี้ เราดูในเรื่องของการเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากร ที่จะทําให้เกิดเศรษฐกิจ
การเข้าถึงของหญิงและชาย ว่ามันมีตัวกีดกันอะไรไหมทําให้ผู้หญิงเข้าถึงได้น้อยกว่า มีอุปสรรคมากกว่า
หรือถูกเลือกปฏิบัติมากกว่า ทรัพยากรทางเศรษฐกิจในที่นี้ ความจริงใน CEDAW ก็มี 1 ใน 8 ข้อ ก็คือว่า
ผู้หญิงจะต้องไม่ถูกการเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ แหล่งเงินกู้ หรือว่าแหล่งทรัพยากรทาง
เศรษฐกิจที่จะทําให้เกิดการทํางานด้านเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรือกสวนไร่นา แหล่งน้ํา ทรัพยากรปุาไม้ แร่
ธาตุ ชายทะเล ทั้งหลายเป็นสิ่งที่มันจะไปปนกับสิทธิชุมชนต่างๆ นาๆ ด้วย แต่ว่าถ้าสิทธิที่เกี่ยวข้องกับทาง
เศรษฐกิจตรงๆ เลยที่ระบุชัด ก็คือ การเข้าถึงแหล่งทุน ไม่ว่าจะเป็นทุนกู้ยืมอะไรก็แล้วแต่ อันที่สองคือการ
เข้าถึงความเป็นเจ้าของ (ownership) ซึ่งตัวชี้วัดแหล่งทุนจะต้องไปดูเรื่องเงินกู้เงินต่างๆ ที่จะให้
ผู้ประกอบการ จํานวนผู้ประกอบการหญิง การได้รับการสนับสนุนจากรัฐในเรื่องของภาษี
แก้ไขกฎหมายต่างๆ ที่มันกีดกันผู้หญิง เช่น กฎหมายบางเรื่องบางอันของเรายังค้างไว้สําหรับผู้หญิงที่
เป็นคู่สมรส ยังต้องมีการได้รับความยินยอม (consent) ตรงนี้คู่สมรสที่เป็นผู้ประกอบการทั้งคู่มันไม่
จําเป็นต้องมีการได้รับความยินยอม (consent) ก็ได้ การได้รับความยินยอม (consent) ในอดีตคู่สมรสที่
เป็นฝุายหนึ่งฝุายใดเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นฝุายชาย เมื่อผู้หญิงเป็นแม่บ้านจะไป
เซ็นอะไรต่างๆ นาๆ กฎหมายก็คุ้มครองว่าจะต้องให้พ่อบ้านหรือสามีได้เซ็นยินยอมก็เป็นความชอบธรรมใน
อดีต แต่ว่าปัจจุบัน ทั้งคู่ก็เป็นผู้ที่มีอิสระในการหาเลี้ยงครอบครัวทั้งคู่ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องพวกนี้อยู่ คือ การ
เข้าถึง อีกอันหนึ่งคือ ownership การเข้าถึงการเป็นเจ้าของทรัพย์สินของผู้หญิงและผู้ชายถูกเลือกปฏิบัติ
หรือไม่ นี้คือสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งในที่นี้เวลาเราพูดถึงสาระแห่งสิทธิทางด้านเศรษฐกิจได้ตรวจดูไม่ว่า
จะเป็นข้อ 1-2-3-4-5-6-7-8 จะไม่พบสิทธิทางด้านเศรษฐกิจ แต่จะเป็นเรื่องสวัสดิการทางด้านสังคมเสีย
มากกว่า เป็นค่าจ้างแรงงาน สภาพการว่าจ้างงาน การได้รับบริการทางการแพทย์ การศึกษาภาคบังคับ
โอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น การมีที่อยู่อาศัยที่พอเพียง อันนี้อาจใช่ ownership ข้อ 6 การมีน้ําสะอาดนี่ก็
สวัสดิการสังคม การมีอาหารที่จําเป็นและปลอดภัยต่อร่างกาย เห็นไหมคะว่าไม่มีเรื่องทางเศรษฐกิจเลย
เพราะฉะนั้นก็ขอให้เติมตรงนี้ ซึ่งการเติมตรงนี้ท่านอาจจะไปศึกษาที่ตัว CEDAW ประกอบก็ได้ เพราะมีข้อ
หนึ่งในเรื่องของการไม่ถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจของผู้หญิงด้วยเหมือนกัน
คุณสันติ ลาตีฟี - ขอบคุณครับ ขออนุญาต เนื่องจากเวลากระชับค่อนข้างมาก ขออนุญาตรับฟัง
ความคิดเห็นผนวกกันเลยทั้งในส่วนตารางที่ 5 กับตารางที่ 6 เพราะมีผู้แทนจากผู้พิการที่ได้กรุณามาเข้าร่วม
ในวันนี้ด้วย ขออนุญาตรับฟังในส่วนของสิทธิของคนพิการที่มีอยู่ในตารางที่ 6
ตัวชี้วัดผล คือ
- จํานวนผู้พิการที่เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในแต่ละปี
- อัตราความสัมฤทธิผลของผู้พิการที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
- ร้อยละของจํานวนผู้พิการในสถานประกอบการที่มีกําลังแรงงานกว่าหนึ่งร้อยคนขึ้นไป (แยก
ภาครัฐ/ภาคเอกชน และภาคบริการ/ภาคการผลิต)
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2