Page 409 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 409
331
- จํานวนเรื่องที่ผู้พิการร้องเรียนว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวกับการทํางาน (ข้อมูล
จากศาลปกครอง/กสม./สื่อมวลชน/องค์กรพัฒนาเอกชน)
- จํานวนโครงการบริการสาธารณะ ที่ริเริ่มขึ้น มาตรการเชิงยืนยันสิทธิของผู้พิการ (ของรัฐ และ
เอกชน)
ท่านจะมีข้อคิดเห็นได้โปรดกรุณาช่วยเติมเต็มด้วยครับ
คุณเจนจีรา บุญสมบัติ (ส านักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ) - ตัวชี้วัด 6
กลุ่มสิทธิของคนพิการ โครงสร้าง A ขอแนะนําตัวชี้วัดน่าจะมี CRPD แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ
ปัจจุบันแผนฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.เกี่ยวกับคนพิการ มาตรการเกี่ยวกับคนจ้างงาน ตอนนี้เรามี
กฎหมายใหม่มาตรา 35 การจ้างงานที่ทางภาครัฐและเอกชนต้องรับคนพิการลูกจ้าง 100 คนต่อคนพิการ 1 คน
ตัวชี้วัดกระบวนการ ขอแนะนําการฝึกอบรม และสร้างความตระหนักให้กับคนพิการ ส่วนใหญ่
คนพิการจะมาจากรากหญ้าหรือชนบท ซึ่งเขาจะไม่ค่อยรู้เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ จึงยากที่จะสร้างความ
ตระหนัก ทัศนคติของคนในสังคม
เน้นการเข้าถึง ทุกตัวชี้วัดอยากจะให้เพิ่มคนพิการ การมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ
ทุกๆ ประเภท อยากจะให้พูดถึงการเข้าถึงโดยที่ภาครัฐและภาคเอกชนมีการให้สิ่งอํานวยความสะดวกอย่าง
เหมาะสมและมีเหตุผล
กระบวนการจัดทําบัตรคนพิการ
ตัวชี้วัดผล จํานวนที่ผู้พิการร้องเรียนว่ามีการเลือกปฏิบัติ อยากจะให้เพิ่มสํานักงานส่งเสริมและ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ ภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เข้าไปในการ
ได้รับขัอมูลในตัวชี้วัด
เพิ่มตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ให้ดูที่คุณภาพชีวิตของคนพิการให้มากขึ้นด้วย เมื่อเปรียบเทียบชีวิตของคน
พิการจากอดีตกับปัจจุบัน
เน้นการเข้าถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการต้อนรับคนพิการและมีสิ่งอํานวยความสะดวก การ
เข้าถึงฐานข้อมูล การเข้าถึงสิทธิทุกๆ อย่าง ฝากเรื่องอนุสัญญาคนพิการ พิจารณาด้วย
คุณสันติ ลาตีฟี - นอกจากนี้เรื่องของสิทธิของคนพิเศษ ยังมีเรื่องสิทธิสตรีในภาวะตั้งครรภ์ (แม่และ
เด็ก) สิทธิของเด็ก สิทธิของคนพิการ สิทธิของสตรี
- การไม่ถูกคุกคาม หรือรังควานทางเพศ
- การไม่ถูกทําร้ายโดยบุคคลในครอบครัว
- การมีโอกาสเท่าเทียมในอาชีพการงาน และความก้าวหน้าในตําแหน่งงาน
- ความเท่าเทียมในการรับผิดชอบการเลี้ยงดูบุตร
ซึ่งทั้งหมดนี้ ผมเข้าใจว่าทางผู้แทนได้พูดมาตั้งแต่ต้นแล้ว เดี๋ยวทางคณะผู้ศึกษาไปประมวลแล้วเอามา
ใส่ลงไปในช่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - สิทธิสตรีไม่ใช่สิทธิของกลุ่มเปราะบาง แต่ว่าสตรีเปราะบางมี สตรี
ยากลําบาก สตรีที่อยู่ในภาวะยากไร้มี อยากจะให้แยกที่ท่านใส่ไว้ในหน้า 2 ของตารางที่ 6 ทั้งหมดเข้าใจว่า
เป็นเรื่องของสิทธิสตรีโดยทั่วไป ซึ่งไม่ใช่กลุ่มพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิพลเมืองอยู่
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2