Page 404 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 404
326
ธรรมที่ได้รับในกระบวนการยุติธรรมอาจจะน้อยเกินไป ควรจะต้องมีการปรับปรุงอย่างไรบ้าง ซึ่งยังไม่รวมถึง
ทัศนคติ อคติทางเพศต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างที่เขาจะต้องถูกดําเนินคดี หรือขอความยุติธรรมในการเข้า
สู่การดําเนินคดีในฐานะโจทก์หรือจําเลยก็ตาม เพราะฉะนั้นการจําแนกเพศออกมา หรือจําแนกวัยเด็ก วัย
ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ก็จะทําให้เราพบว่า ความไม่เป็นธรรมในการดําเนินคดีอาญาที่ไม่เป็นธรรมกับคนที่มีความ
แตกต่างเรื่องวัยก็ดี เรื่องเพศก็ดี เรื่องความพิการต่างๆ นาๆ ก็ดี มันจะชัดเจนขึ้นว่ามันมีข้อที่จะต้องนําไป
สร้างกลไกที่จะทําให้เกิดความเป็นธรรมได้อย่างไร ผู้หญิงที่พูดไม่ได้และเป็นใบ้ถูกกระทําไม่ว่าจะเป็นการถูก
กระทําความรุนแรง หรือการล่วงละเมิดทางเพศ เขาไม่สามารถที่จะอธิบายได้เวลาไปฟูองตํารวจ ไปโรงพัก
เราจะมีกลไกอย่างไร ที่จะมีล่าม หรือคนตาบอดก็ดี ซึ่งตรงนี้จะสร้างกลไกกะทันหันขึ้นมาได้อย่างไร เมื่อมี
กรณีนั้นเกิดขึ้นมา เราจะคุ้มครองเขาชั่วคราวได้ไหม พูดกันไม่รู้เรื่อง ก็แจ้งความไม่ได้ก็จบลงหรืออย่างไร
เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ทั้งหมด คิดว่าเป็นตัวชี้วัด อาจเป็นตัวชี้วัดเชิงกระบวนการ หรือเป็นตัวชี้วัดผล บั้นปลายก็
ต้องไปออกแบบไปสกัดออกมา นี่คือสิ่งที่จะต้องเติมเข้าไปในสองช่องสุดท้าย ในข้อ 3.3 แต่ช่องแรกอยากจะ
ให้ปรับ เพราะถ้าไม่ปรับมันจะเป็นเรื่องของฝุายจําเลย เมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดอย่างเดียวแล้ว
กรณีโจทก์ล่ะ
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ขอเสริมตรงนี้มันอาจจะต้องแยกระหว่างผู้ต้องหา คือ จําเลย หรือผู้ที่ถูกกล่าวหา
กับคนที่เป็นโจทก์ เพราะในสมมติฐานของสิทธิมนุษยชนจะมองในเรื่องของคนที่ถูกจํากัดสิทธิ ก็จะให้การ
คุ้มครอง ในขณะเดียวกันสิทธิของผู้ที่เป็นเหยื่อ เป็นผู้เสียหายมันจะไปอยู่ในเรื่องสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา
ซึ่งมองว่ารัฐต้องให้ความคุ้มครองไม่ให้ถูกละเมิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะต้องมีกระบวนการที่เป็นธรรมได้รับ
ความคุ้มครองอย่างเท่าเทียม ไม่ค่อยจะให้ความสําคัญเท่าไหร่
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - การขอรับความเป็นธรรมเราไปฟูองเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมทาง
อาญาด้วยหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ไปจํากัดเกินไป เราก็จะได้ตัวกระบวนการที่มันไปพร้อมๆ กันทั้ง
สองฝุาย
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - มีอีกเรื่องหนึ่งที่เสริมเรื่องของตัวชี้วัดทุกประเภท มีแนวปฏิบัติก็คือว่าจะต้อง
แสดงถึงเพศ เชื้อชาติ ความแตกต่างเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ํา เพราะฉะนั้นในเรื่องของตัวชี้วัดทุกตัวจะมี
องค์ประกอบเรื่องของเพศ อายุ บางตัว เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา บางทีต้องแสดงตรงนั้นถ้ามันเกี่ยวข้อง
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - ข้อ 3.2 เรื่องของความเท่าเทียมกันที่ได้รับโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ คํา
ว่าเลือกปฏิบัติ แน่นอนในโครงสร้างได้พูดถึงอนุสัญญาต่างๆ มี CEDAW อยู่ในนี้ด้วย แล้วพูดถึงรัฐธรรมนูญ
อยากให้ระบุไปเลยว่ารัฐธรรมนูญที่รับรองความเท่าเทียมของบุคคลอยู่ในมาตรา 30 การอธิบายการเลือก
ปฏิบัติ อยู่ในวรรคที่ 3 ของมาตรา 30 ซึ่งมีการเลือกปฏิบัติทั้งหมด 12 ประการ เพศ ศาสนา อายุ ความ
พิการ ถิ่นกําเนิดต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ตัวนี้เป็นตัวชี้วัดได้หมดเลยว่าจะเอามาใส่ ก็ใส่ 12 ประการ ตามที่
รัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรค 3 ได้ระบุไว้แล้วก็จะดีที่สุด ส่วนที่มี CEDAW ก็เอารายละเอียดของ CEDAW
ออกมาก็ได้ ทั้งหมดจะมีรายละเอียดกําหนดไว้ 8 ประการที่เป็นการเลือกปฏิบัติทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2