Page 401 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 401
323
คุณสันติ ลาตีฟี - ท่านบอกว่าเรามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างเยอะ ซึ่งกฎหมายต่างๆ เหล่านี้เรามี
อยู่ถูกไหมครับ ผมคิดว่าตรงนี้เราก็นําไปใส่ในส่วนของโครงสร้างได้ เรามีโครงสร้างนี้อยู่แล้ว ขออนุญาตถาม
ต่อไปว่าเมื่อเรามีกฎหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว เราได้ฝึกอบรมหรือให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
อย่างเพียงพอหรือไม่
คุณกรองแก้ว โมกขมรรคกุล (ส านักงานศาลยุติธรรม) - ในระบบของสํานักงานศาลเอง เรามีศาล
3 ระดับ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกา ก่อนที่เข้าสู่ระบบตุลาการเรามีการอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา ซึ่งตาม
กฎหมายกําหนดไว้ 3 ปี ก่อนที่จะเป็นผู้พิพากษาที่มีสิทธิที่จะนั่งพิจารณาคดี แต่ก็เป็นเรื่องคําสั่งซึ่งเป็นไป
ตามธรรมนูญศาลยุติธรรม ในส่วนตรงนี้มีการอบรบก่อนจะเข้าสู่ตุลาการ อย่างน้อย 1 ปี หลังจากที่ออกไป
เป็นผู้พิพากษาแล้ว จะมีระยะเวลาว่า 3 ปี จะต้องกลับมาอบรมอีกรอบ และก่อนที่จะออกไปต่างจังหวัด
หรือขึ้นไปสู่ศาลพิจารณาพิเศษจะต้องอบรม ขึ้นหัวหน้าศาลจะต้องอบรม ขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ต้องมี
การอบรมทุกระดับ ผู้ช่วยจะขึ้นเป็นผู้พิพากษาอบรมหนึ่งครั้ง ผู้พิพากษาจะขึ้นหัวหน้าศาลจะต้องอบรมอีก
จากหัวหน้าศาล ขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ต้องอบรม เป็นหัวหน้าคณะต้องอบรม ขึ้นศาลฎีกาเป็นผู้ช่วยต้องอบรม มี
การอบรมตลอด ในระบบตุลาการมีการอบรมเยอะมากไม่น้อยกว่า 3 ปี เราอบรมตลอดทุก 3 ปี อย่างมาก
ที่สุด แต่ถ้ามีหลักสูตรทั่วๆ ไปอย่างกฎหมายใหม่เราจัดวิชาการสัญจรให้ทุกปี ปีนี้จัดทั้งหมด 19 ครั้ง ในเรื่อง
ของดุลพินิจในการกําหนดโทษทั้งทางแพ่ง ทางอาญา การรับฟังพยานหลักฐาน เราออกไปให้ความรู้ทั่ว
ประเทศ เราจัดภาคละสองครั้ง ทั้งหมดมี 9 ภาค รวมส่วนกลางด้วย รวม 19 ครั้ง ปีนี้เราจัดแล้ว เราจัดขึ้น
ทุกปีอย่างต่อเนื่องไม่เฉพาะแต่ผู้พิพากษาเท่านั้น ตัวสํานักงาน ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้อํานวยการทุกคนได้รับการ
อบรมทุกปี อันนี้มีหลักสูตรแน่นอน เรามีสถาบันพัฒนาข้าราชการฝุายบูรณาการศาลยุติธรรม ซึ่งจะจัด
อบรมมีทั้งดูงานในประเทศและต่างประเทศ ที่เราทําอย่างต่อเนื่อง มีข้อมูลพร้อม
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ที่จริงผมไม่ค่อยหนักใจเท่าไหร่เรื่องศาลเพราะว่าเป็นอาจารย์ทางกฎหมายอยู่ก็
ใกล้ชิด เพียงแต่ว่าที่มันว่างอยู่ยังทําตัวชี้วัดด้านอื่นที่คิดว่าจะรับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาเอง
โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านสิทธิเศรษฐกิจ สังคม ซึ่งเราไม่ค่อยถนัด แต่ในเรื่องศาล กระบวนการเข้าสู่เรื่องของ
การจ่ายคดี ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ มันมีแนวอยู่ค่อนข้างพอสมควร ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
คุณสันติ ลาตีฟี - ขอข้ามไปกลุ่มตัวชี้วัดที่ 5 ก่อน
คุณพยนต์ สินธุนาวา (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) - ตามความเข้าใจผม
เข้าใจว่าทางท่านอาจารย์มีตัวเลขอยู่แล้ว ปกติในการที่เราออกแบบตัวชี้วัดจะมีสองโซนใหญ่ๆ โซนแรกคือ
ขนาดของปัญหาในประเทศ ก็สันนิษฐานว่าอาจารย์มีตัวเลขอยู่แล้ว แสดงว่าที่แจกแจงรายการมาเป็น
ประเด็นทางโครงสร้างและตัวชี้วัดทางกระบวนการต่างๆ ก็แสดงว่าเรากําลังจะตอบโจทย์ปัญหา ซึ่งไป
สอดรับการที่เราเป็นภาคีด้วย เพราะว่าในการที่เราเป็นภาคีบางตัวที่เราปฏิบัติได้ตามปกติอยู่แล้ว เราไม่มา
เขียนเป็นตัวชี้วัด เพราะมันเป็นไปของมันอย่างปกติ อีกกรณีหนึ่งก็คือ เราอยากไปถึง ถึงแม้ไม่มีปัญหา อัน
นี้เป็นอีกตัวหนึ่งที่สันนิษฐานว่าอาจารย์ได้ทําตามไปหมดแล้ว ข้อ 3.3 การพิจารณาคดีโดยกระบวนการทาง
ยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรม กระบวนการจริงๆ อาจารย์ว่างในเรื่องของตัวชี้วัดทางกระบวนการ และ
ตัวชี้วัดผลเอาไว้ถูกไหมครับ ง่ายๆ ก็คือตั้งแต่ชั้นตํารวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ใน 3.3 มันต้องเริ่มจากจุด
ตรงนั้นในทางอาญา ต้องถามว่าตัวชี้วัดทางกระบวนการของทางตํารวจมีตัวใดบ้างที่จะไปตอบโจทย์ตาม
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2