Page 403 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 403

325


                         ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ -  ผมเคยเห็นการเขียนตัวชี้วัดอันหนึ่ง เขาบอกว่า อาชีพบางอาชีพ เช่น แพทย์
                   ผู้พิพากษา จะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อที่จะให้การทํางานเป็นอิสระ ผมไม่แน่ใจว่าในกรณีของ

                   ตํารวจมีตรงนี้หรือเปล่า ผมเห็นด้วยคือว่าตํารวจรับงานดูแลกฎหมาย สังคมบางครั้งก็บีบบังคับ เกิดคดี
                   รุนแรงฆ่าพระ ผู้หญิงถูกฆ่าข่มขืน สังคมบีบบังคับ ทําให้ตํารวจทํางานโดยที่ไม่เป็นอิสระ ตอนที่อยู่อังกฤษมี
                   คดีวางระเบิดไม่มีใครพูดเลย ทุกคนไปถามไม่มีใครพูด ตํารวจ แต่ผู้บังคับบัญชาการตํารวจคนที่สูงที่สุดพูด
                   อยู่คนเดียว ใครถามอะไรเขาบอกว่าเรากําลังดําเนินการอยู่ ใครถามเขาตอบว่า คิดว่าเราคงจะได้ทราบ

                   คําตอบถ้าเราไม่แน่ใจเขาพูดอย่างนี้ ก็คือว่าเขาปราศจากการบีบบังคับจากสื่อ ของเราบางทีตํารวจเองก็ถูก
                   สังคมบีบบังคับให้ต้องรีบดําเนินการ เสร็จแล้วก็กลายเป็นปัญหาเรื่องของการหาคนมาขึ้นสู่ศาล มันมีข้อเสีย
                   ก็คือว่าคนที่ถูกดําเนินคดีก็ไม่ได้เป็นผู้ที่กระทําผิดจริง และบางทีผู้ต้องหาก็ถูก  สุดท้ายก็ต้องถูกปล่อยไป

                   ลักษณะนั้น


                         ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
                   บทบาทหญิงชายและการพัฒนา)  - ข้อ 3.3 มีข้อสังเกตตั้งแต่ช่องแรกเลยที่ว่า การได้รับการพิจารณาคดี
                   โดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรมเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดทางอาญา เรากําลังพูดถึง

                   ฝุายเดียว อยากให้ปรับถ้อยคําว่ามันไม่ใช่เรื่องของการที่จะเป็นฝุายจําเลย อยากให้เป็นเรื่องของการ
                   พิจารณาคดีโดยกระบวนการทางอาญาที่เป็นธรรม  เมื่อใดก็ตามที่คดีเข้าสู่การพิจารณาไม่ว่าจะโดยผู้นั้นเป็น
                   โจทก์หรือเป็นจําเลยก็จะได้รับความเป็นธรรมถ้วนหน้ากัน ว่ากระบวนการดําเนินคดีมันเป็นธรรม ตัวชี้วัด
                   เชิงโครงสร้างว่าการดําเนินคดี การพิจารณาคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรม คืออะไร
                   ตัวชี้วัดของการพิจารณาคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรมก็คงจะต้อง แน่นอนท่านเป็น

                   นักวิชาการทางด้านกฎหมายก็คงจะต้องสกัดออกมาให้ได้ว่า ความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีโดย
                   กระบวนการยุติธรรมทางอาญาคืออะไร ตัวชี้วัดคืออะไร ซึ่งไม่ควรเป็นเรื่องสิทธิ การรับรองสิทธิว่าเป็น
                   ผู้บริสุทธิ์อย่างเดียว มันควรจะมีหลายตัวเลยที่เป็นเชิงโครงสร้าง ซึ่งดิฉันได้พูดไปแล้วว่าอย่างแรกที่สุดเลย

                   ควรจะตรวจสอบกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของเรา ซึ่งเราใช้มานานเราควรจะเอามาตรวจสอบ
                   ดู อาจจะสอบถามกับผู้ที่ใช้กฎหมาย ผู้ที่ถูกบังคับใช้กฎหมาย หรือทนายความต่างๆ ในแวดวงที่ใช้กฎหมาย
                   ตัวนี้ว่ามันมีช่องที่ไม่เป็นธรรมตรงไหนไหม เรื่องไหนที่ควรจะปรับแก้ เพราะว่าสังคมเปลี่ยนไปเยอะ  อันนี้ก็
                   เป็นเรื่องที่หนึ่งตัวชี้วัดเชิงโครงสร้าง คือ ชําระกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบางเรื่อง สองคิดว่าคงจะต้อง

                   ทําในเรื่องของระเบียบต่างๆ ในระหว่างที่ควบคุมผู้ต้องหาก็ดี หรือว่าระหว่างการฟูองร้องคดีก็ตาม จะทํา
                   อย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมของทั้งสองฝุาย เป็นเรื่องที่จะต้องไปตรวจสอบดูระเบียบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
                   ทนายของคนจนมีมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าทุกคนเท่าเทียมกันทางกฎหมายก็จริง แต่ว่าไม่เท่าเทียมกันทาง
                   เศรษฐกิจ จะเข้าสู่ทางกระบวนการพิจารณามีทนายไหม ทนายอาสาหรืออะไรต่างๆ นาๆ จํานวน

                   เปรียบเทียบกับคดีความที่เกิดขึ้นเพียงพอไหม ซึ่งจํานวนของตํารวจก็ดี พนักงานสอบสวนก็ดีมีเพียงพอกับ
                   จํานวนคดีความที่เกิดขึ้นหรือไม่ ตัวนี้เป็นสถิติเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่จะมาบอก

                         ซึ่งในกระบวนการนี้ก็คือว่าได้มีการสร้างกลไก ที่จะทําให้เกิดการเดินไปของคดีมันไม่ตกออกมา หรือ
                   มันไม่ไปสู่การที่คนถอนฟูองหรือว่าคนหายออกไปจากการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่เข้าสู่กระบวนการ

                   ยุติธรรมอย่างนี้เป็นต้น ที่สําคัญก็คือว่าอยากจะให้เพิ่มตัวชี้วัดที่มันเป็นเรื่องของการจําแนกเพศด้วย
                   เพราะว่าผู้หญิงกับผู้ชาย เดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในคดีความทางอาญาแตกต่างกัน คดีความของ
                   ผู้หญิงอาจจะเป็นเรื่องของการละเมิดทางเพศ หรือว่าการถูกกระทําความรุนแรงใดๆ ก็ตาม  แต่ว่าความเป็น


                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   398   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408