Page 400 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 400
322
อย่างนี้เป็นต้น นั่นก็คือเราสามารถปรับใช้ได้โดยที่ไม่ต้องแก้ไขกฎหมายก็มี แต่บางอย่างก็ต้องแก้ไขกฎหมาย
อันนี้เห็นด้วย เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีสองเรื่อง แต่สิ่งที่พูดถึงเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หมายถึง การ
พูดถึงสิ่งที่ยอมรับอย่างเช่นเรื่องแนวปฏิบัติที่ดี (good practice) เรานํามาปรับใช้ได้เลย ถ้าไม่ขัดต่อ
กฎหมาย แต่ถ้าขัดกันต่อกฎหมายก็ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย
คุณสันติ ลาตีฟี - กฎหมายที่ขัดหรือว่าเป็นอุปสรรคต่อการที่จะดําเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ใน
เรื่องของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ ทาง กสม. ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่มีอํานาจหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอให้มี
การแก้ไขกฎหมาย ซึ่งถ้าหากกฎหมายนั้นขัดแย้งต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน กสม. ก็มีหน้าที่ในส่วนนั้น ผมเห็น
ด้วยกับ ผศ. วิชัย คือ มาตรฐานระหว่างประเทศบางเรื่องเมื่อเรารับมาแล้วเราก็ปฎิบัตินํามาปรับปรุงนํามา
ปรับใช้ ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายภายในของไทย แต่ถ้าเรื่องไหนที่มันขัดเราก็ต้องมาพิจารณาดูว่า
กฎหมายภายในประเทศเป็นอุปสรรคหรือไม่ ถ้าหากเป็นอุปสรรคเราก็นําไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
ต่างๆ เหล่านั้นให้มันสอดคล้องกับหลักการที่เราไปรับมา
ขอชวนมาดูข้อ 3.3 เรื่อง การได้รับการพิจารณาคดีโดยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นธรรม
เมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดทางอาญา คิดว่าเรื่องนี้น่าจะเกี่ยวกับท่านผู้แทนตํารวจโดยตรง ท่านผู้แทน
ตํารวจจะกรุณาช่วยเติมหน่อยได้ไหมว่าตัวชี้วัดเชิงกระบวนการในส่วนนี้มันน่าจะเป็นอะไรบ้างที่จะเกี่ยวข้อง
กับงานของท่านโดยตรง เช่น ท่านมีมาตรการอะไรบ้างที่จะไปทําให้สาระแห่งสิทธิในเรื่องนี้มันสมบรูณ์
ครบถ้วน ท่านคิดว่ามีกระบวนการอะไรบ้างที่จะทําให้สิทธินี้มันเกิดเป็นความจริงขึ้นมา ตัวชี้วัดทาง
โครงสร้าง คือ มีกฎหมายรับรองสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ส่วนกระบวนการจะมี
อะไรบ้าง แล้วกระบวนการต่างๆ เหล่านั้นมันจะทําให้เกิดผลอะไร หรือทางท่านผู้แทนของสํานักงานศาล
ยุติธรรม จะกรุณาเติมในข้อ 3.4 ในเรื่องของความเป็นกลาง และความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการ
เราจะมีกระบวนการอะไรบ้าง มาตรการอะไรบ้างที่จะนําไปสู่การทําให้สิทธินี้เกิดเป็นความจริง
คุณกรองแก้ว โมกขมรรคกุล (ส านักงานศาลยุติธรรม) - ในส่วนของกระบวนการดําเนินคดีในทาง
ศาลมันมีขั้นตอนอยู่แล้ว เราสามารถดําเนินกระบวนการตั้งแต่ชั้นฝากขัง ผลัดฟูอง เข้ามาจนถึงศาลชั้นต้น
ตัดสิน มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา ในส่วนตรงนี้หากคู่กรณีมีสิทธิที่จะเอาพยานหลักฐานเข้ามาสืบ เพื่อพิสูจน์ความ
บริสุทธิ์ของตัวเองได้ ส่วนนี้ไม่ได้มีการปิดกั้นเลย เพราะฉะนั้นถามว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญามันมีอยู่
แล้ว แต่ที่นี้ตัวชี้วัดที่เราจะเอามาใส่คืออะไร สมมติว่าตัวชี้วัดผล ก็จะเป็นลักษณะว่าจํานวนคดีที่ศาลยกฟูอง
จํานวนคดีที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วศาลยกฟูองว่า จําเลยไม่กระทําความผิดเดี๋ยวนี้มีเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่
เมื่อเทียบกับว่าคดีที่ถูกฟูองแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมทางอาญา ได้รับการพิจารณา
ถูกต้องแค่ไหน สมมติว่าชั้นต้นอาจจะตัดสินผิด แต่พออุทธรณ์ ฎีกา ยกฟูองไปเลย แล้วผู้เสียหายได้รับการ
ชดใช้เยียวยา ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของเรามันอาจจะมีจุดอ่อนที่มันจะชี้ให้เห็นว่าจําเลยไม่ได้ผิด
แต่ว่าระบบการพิสูจน์ หรือว่าการนําพยานหลักฐานต่างๆ เข้ามาสืบมันพียงพอหรือยัง มันอาจเป็นกรณีที่
กฎหมายมีเขียนไว้อยู่แล้ว กฎหมายมีเยอะของเรามีหลายพันอาจจะเกือบหมื่น ระบบ ระเบียบย่อยๆ
ทั้งหมดน่าจะเป็นหมื่นๆ ด้วย แต่ทั้งนี้เราใช้ถูกต้องแค่ไหน การบังคับใช้กฎหมายเข้มงวดแค่ไหน ระเบียบ
ข้อบังคับทุกอย่างเราเอามาใช้หมดหรือยังต่างหากที่เราจะต้องดูว่ากระบวนการยุติธรรมได้ดึงเอามาทั้งหมด
หรือเปล่า แล้วผู้ต้องหาหรือจําเลย หรือประชาชนได้รับความคุ้มครองในกระบวนการยุติธรรมแค่ไหน เรา
จะต้องเอามาดูอีกที
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2