Page 399 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 399
321
ของต่างประเทศเอามาเขียน ซึ่งตรงนี้ดิฉันก็เคยได้ไปดูของศาลโลกไปดูว่าลักษณะในการเขียนของเขา
ลักษณะเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเอามาใช้ของเรา เราอาจจะต้องเอามาปรับคํานิดหนึ่ง
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ขออนุญาต เรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศมันไม่จําเป็นต้องมีกฎหมายมาใช้ก็ได้
เราก็อ้างได้ตลอด ขอยกตัวอย่าง ศาลมีคดีหนึ่ง ที่จริงเราเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่ง
ห้ามประหารชีวิตบุคคลอายุต่ํากว่า 18 ปี หลักของการใช้กฎหมาย ก็ต้องใช้กฎหมายระหว่างที่กระทํา
ความผิด แต่ศาลก็ลงโทษคนที่กระทําความผิดในขณะที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี แต่ว่าตอนพิจารณาอายุเกิน 18 ปี
ลักษณะนี้ นั่นก็คือ ผู้พิพากษา หรือว่าตุลาการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้วย รู้ในกฎหมายไทยกว้างๆ คน
จะลงโทษ ศาลมีสิทธิที่จะลดหย่อนอายุความรับผิด ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ
ประการที่สอง มาตรฐานระหว่างประเทศไม่จําเป็นต้องเป็นกฎหมายเราก็ปรับใช้ได้ ยกตัวอย่าง
ตํารวจ การใช้อาวุธของตํารวจ มีกระบวนการในการใช้ให้เข้าใจ เพราะฉะนั้นมาตรฐานระหว่างประเทศ
อย่างเช่น กรณีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจํา ที่พระองค์ภาลงนามใน Bangkok Rules (โครงการ
ELFI (Enhancing Lives of Female Inmates)) นั่นก็คือการปรับใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ มาตรฐาน
ระหว่างประเทศ คือ การยอมรับ ซึ่งไม่จําเป็นว่าจะต้องเป็นกฎหมาย เป็นมาตรฐาน ของเรามักจะคิดอยู่ว่า
เราเป็นสองระบบ แต่จริงๆ แล้วมีการพิสูจน์แล้วขึ้นอยู่กับการปรับใช้เยอะมาก
เมื่อก่อนข้าราชการผู้หญิงจะแต่งงานกับชาวต่างประเทศไม่ได้ ศาลก็ตัดสินว่ามันขัดต่อรัฐธรรมนูญ
โดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เลย ตรงนี้เห็นว่าบางทีเรามองถึงมาตรฐานระหว่างประเทศกฎหมายให้หรือ
ไม่ให้บางทีต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วย
ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล (ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงผลิกโฉมประเทศไทย สถาบันวิจัย
บทบาทหญิงชายและการพัฒนา) - ขอเสริมจากท่านผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรมว่าเป็นความเห็นที่น่ารับฟัง
ก็คือว่า ถ้าเราจะทําตัวชี้วัด เราไม่มาเถียงกัน ถ้าตัวชี้วัดด้านกระบวนการยุติธรรมก็ต้องไปสู่การปรับปรุง
กฎหมายภายในให้เป็นกติการ่วมกัน แต่เราจะเอามาลอยๆ ว่าให้ไปอ้างมาตรฐานตัวนั้นตัวนี้มา ฝุายปฏิบัติ
ซึ่งเป็นข้าราชการต่างๆ ก็ดีหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ยิ่งถ้าเป็น rules of law ไม่ได้เลยมันต้องมีลายลักษณ์
อักษรที่ชัดเจนว่าใช้ Law ตัวไหน Rule ตัวไหน คิดว่าเราต้องชัดในเรื่องพวกนี้ และเป็นเรื่องที่จะต้องนํามา
ทําเป็นกฎหมายภายใน ฉะนั้นตัวชี้วัดเหล่านี้จะไม่เถียงในที่นี้ แต่หมายความว่าเราต้องระบุลงไปว่าเมื่อเรามี
พันธกรณีแล้ว ก็มาทําชี้วัดที่เป็นเรื่องของการสร้างกฎหมายภายใน เพื่อให้เป็นกติการ่วมกัน เพื่อให้คนอื่นจะ
ได้ปฏิบัติได้
ผศ. วิชัย ศรีรัตน์ - ผมก็ยังมีความเห็น ขอโทษนะครับก็คือว่าจริงๆ แล้วเราไม่สามารถที่จะแก้ไข
กฎหมายได้ทั้งหมด ไม่มีทาง เพราะฉะนั้นมันจะมีแนวปฏิบัติ ในการปฏิบัติต้องมี good practice,
guideline แนวปฎิบัติของราชทัณฑ์มีเยอะแยะที่จะปฏิบัติ โดยไม่จําเป็นที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย แน่นอน
แนวปฏิบัติทําให้การใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าใช้ให้ขัดกัน เราถึงต้องมีสองอย่าง อัน
ไหนที่ขัดกันอย่างชัดแจ้งก็ต้องแก้ ถ้าหากว่าสามารถจะปรับใช้ได้โดยที่ไม่ต้องแก้ มีการฝึกอบรมให้เข้าใจ ผม
เข้าใจว่ากระบวนการต่างๆ ในศาลเองก็มี ผมจําได้ตอนที่ผมอยู่ Asianet เราจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ศาล
ศาลเด็กเดิมทีในศาล เด็กถูกตีถูกเฆี่ยนต่างๆ ก็มีการปรับใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ โดยผู้พิพากษาที่เป็น
ผู้บังคับบัญชาดูแลสถานพินิจ เมื่อก่อนนี้สถานพินิจอยู่ภายใต้การดูแลของผู้พิพากษาเขาก็ปรับใช้ไม่ลงโทษ
ถามว่าขัดต่อกฎหมายไหม กฎหมายไม่ได้เขียนแต่เขาก็นํามาตรฐานระหว่างประเทศมาปรับใช้ ยกตัวอย่าง
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2