Page 402 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 402

324


                   ประเด็นหลักตรงนี้ และตัวชี้วัดทางอัยการมีประเด็นใดบ้างที่จะต้องตอบโจทย์ตรงนี้ เช่นเดียวกันของศาลซึ่ง
                   ศาลได้ดําเนินการมาหลายอย่างมาก เรื่องความรวดเร็ว เรื่องการเปิดโอกาสในความเท่าเทียมกัน ตรงนี้ก็

                   แจกแจงออกมา เมื่อได้แจกแจงเสร็จแล้วมันก็จะออกมาเป็นตัวชี้วัดทางกระบวนการแต่ละกระบวนการ และ
                   ก็จะออกมาถึงผลในการวัดผลว่าเรากล้ารับประกันไหมว่าจะไม่มีคดีอย่างเชอร์รี่ แอน เกิดขึ้น ไม่มีแพะ
                   เกิดขึ้น ติดคุกจนตาย แล้วปรากฏว่าตรวจมาตอนหลังแล้วเขาไม่ได้เป็นผู้กระทําความผิด ก็เป็นตัวชี้วัดที่
                   ท้าทาย ถ้ากระบวนการของเราสามารถทําได้จริง ต้องไม่มีตรงนี้ มองว่ากระบวนการ  3.3 ไปประมาณอย่าง

                   นั้น มันคงไม่ได้ไปแค่ว่าศาล หรือตํารวจ แต่มันทั้งสาย แล้วรับประกันว่าประชาชนผู้บริสุทธิ์คนหนึ่งเขาจะ
                   ได้รับการคุ้มครองหากเขาไม่ผิด ในขณะเดียวกันประชาชนที่เป็นผู้กระทําผิดจริงเขาได้รับการรับประกันว่า
                   เขาได้รับการดําเนินการทางกฎหมายอย่างเป็นธรรม และต้องได้รับการแก้ไขฟื้นฟูไม่ว่าจากทางเรือนจํา หรือ

                   คุมประพฤติอะไรก็ตาม มองว่าความเป็นธรรมทุกคนจะได้ดั่งใจ ความเป็นธรรม คือ สังคมสงบสุข ผมมองว่า
                   ข้อ 3.3 น่าสนใจเพียงแต่ว่าจะต้องคลี่ออกให้ได้ว่ามีแต่กระบวนการไหนบ้าง แล้วมันจะไปตอบโจทย์ตัวชี้วัด
                   ของตัวหลักทางนี้ได้

                         พ.ต.อ.สมศักดิ์ วิมานรัตน์ (รองบังคับการนครบาล กองบัญชาการต ารวจนครบาล) -  ในข้อ 3.3

                   พนักงานสอบสวนถือว่าเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ทางสํานักงานตํารวจแห่งชาติมีระเบียบอยู่ว่า
                   การควบคุม การสอบสวน ตั้งแต่รับแจ้งความ ระยะเวลาการสอบสวน ระยะเวลาที่เข้าไปควบคุม ตรวจสอบ
                   ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงแรก ตั้งแต่รับแจ้งความ ตั้งแต่เริ่มจนถึงส่งฟูองศาล มีการผลัดสํานวนภายในกี่วัน กี่วันให้

                   เสร็จ เพราะฉะนั้นเรื่องความเป็นธรรมในส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนจะใช้ข้อความ อย่างไรแล้วแต่คณะ
                   ผู้ศึกษาช่วยเขียนให้ด้วย

                         คุณพยนต์ สินธุนาวา  (ผู้เชี่ยวชาญควบคุมความประพฤติ กรมคุมประพฤติ) - ขอเสริมที่จริงตรงนี้

                   น่าสนใจ ขอประทานโทษผู้แทนจากกรมตํารวจ ตํารวจเรามีสองแสนกว่าคนถูกไหมครับ ถ้าตัวชี้วัดนี้เกิดขึ้น
                   นั่นหมายถึงว่ามันต้องมีแรงผลักดันที่ผลักดันให้ตํารวจได้รับการช่วยเหลือจากงบประมาณหรือจาก
                   อัตรากําลังก็ตาม ที่ผมเรียนตอนต้นว่าผมสันนิษฐานว่าทางอาจารย์มีตัวเลข สันนิษฐานว่าทางคณะผู้ศึกษามี
                   ตัวเลขอยู่แล้วว่ามันเป็นประเด็นปัญหา ตั้งแต่ชั้นตํารวจ สมมตินะครับ ฉะนั้นต้องมาดูปัญหาเกิดจากอะไร

                   อัตรากําลังที่ไม่พอ งบประมาณที่ไม่พอ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตํารวจอบรมได้ทันทีไหม เพื่อให้เจ้าหน้าที่
                   ตํารวจดูแลกฎหมายพันกว่าฉบับได้มีกําลังพอไหม วัสดุอุปกรณ์ได้เติมให้ตํารวจไหม ตรงนี้ผมมองว่าถ้ามัน
                   เป็นข้อจํากัดของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กระบวนการตัวชี้วัดตัวนี้มันต้องไม่ตอบโจทย์สํานักงานตํารวจ
                   แห่งชาติในการเสริมให้เขสามารถที่จะดําเนินการตัวนี้ได้สัมฤทธิ์ผล ผมมองว่าตัวชี้วัดนี้ไม่น่าจะเป็นตัวชี้วัด

                   จับผิด แต่เป็นตัวชี้วัดเสริมให้กระบวนการสมบรูณ์ขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับหน่วยงานแต่ละหน่วยงานดูว่าข้อขัดข้อง
                   หรือข้อจํากัดของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละจุดมีข้อจํากัดอย่างไรบ้างที่เปูาหมายเราอยากให้เป็นแล้วมัน
                   ไปไม่ถึง ถึงแม้เรามีระเบียบ แต่ระเบียบเรามีคนเราไม่สามารถดําเนินการได้ เพราะมีกรณีมากเกินไป หรือ

                   เพราะว่างบประมาณไม่พอ หรืออะไรก็ตาม  ก็แจกแจงปัญหาขึ้นมา ผมมองว่าปัญหานั้นคือตัวชี้วัดที่ต้อง
                   ตอบโจทย์และต้องแก้ตัวชี้วัดนั้นให้จบ หากว่าเป็นเรื่องงบประมาณ ตัวชี้วัดคืองบประมาณก็ต้องให้ ถ้าเรื่อง
                   วัสดุอุปกรณ์ก็เป็นเรื่องวัสดุอุปกรณ์อะไรก็ตาม หรือเรื่องการฝึกอบรมก็จะต้องมีตัวชี้วัดการฝึกอบรมว่า
                   ภายใน 5 ปี จะได้รับการฝึกอบรมในระดับที่เพียงพอแก่เขาได้ ทุกวันนี้งบประมาณก็ไม่ค่อยมี ขอบคุณครับ
                   ท่านอาจารย์



                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 2
   397   398   399   400   401   402   403   404   405   406   407