Page 32 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 32

20


                                สัดส่วนของสตรีในคณะรัฐมนตรี สัดส่วนของเด็กหญิงต่อเด็กชายในการลาออกกลางคันใน

                                การศึกษาระดับประถม หรือ
                                จ านวนคดีที่มีการร้องเรียนว่าบุคคลถูกท าให้สูญหายโดยการใช้ก าลังบังคับ


                              ตัวอย่างตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ  วิธีการหนึ่งที่ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลตัวชี้วัด ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
                                                                                                  37
               ในระบบของสหประชาชาติ และผู้จัดท ารายงานพิเศษ คือ การใช้ “ชุดค าถาม” หรือ “Check List”  ในการ
               ประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน เช่น


                                ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในการก าหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่?
                                ได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องความส าคัญในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหรือไม่?

                              ชุดค าถามดังกล่าวข้างต้นสามารถเชื่อมโยงถึงหรือใช้ก าหนดเป็นเกณฑ์ตัวชี้วัดกระบวนการ

               ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่กล่าวมามักใช้ประกอบกับตัวชี้วัดเชิงปริมาณ เช่น สัดส่วนของบุคลากร/เจ้าหน้าที่ต ารวจ
               ที่ผ่านการอบรม หรือจ านวนโครงการฝึกอบรมต่อปีต่อคน เป็นต้น


                              นอกจากนั้น ค าแนะน าของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนยังให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการ
               ก าหนดประเภทของข้อมูลโดยตรงกับข้อมูลประกอบ ไว้ว่า ข้อมูลบางประเภท อาจไม่ได้แสดง หรือเชื่อมโยงถึง
               ปทัสถานหรือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยชัดแจ้ง แต่เป็นข้อมูลทางด้านสังคมเศรษฐกิจที่สามารถใช้วิเคราะห์
               ประกอบกับข้อมูลอื่น เพื่ออธิบายความเชื่อมโยงกับปทัสถาน หรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ข้อมูลเชิง
               สถิติเกี่ยวกับการบริโภคในครัวเรือน สัดส่วนการลาออกกลางคันของเด็กหญิงและเด็กชายในการศึกษาภาคบังคับ

               สัดส่วนของสตรีที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละของเด็กที่ตายภายในระยะเวลายี่สิบ
               แปดวันหลังการคลอด สัดส่วนของงบประมาณด้านการศึกษาเปรียบเทียบกับงบประมาณด้านความมั่นคง เป็นต้น


                              ข้อมูลบางประเภท มีความเชื่อมโยงกับปทัสถาน หรือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนอย่างชัดแจ้ง
               ข้อมูลเหล่านี้เรียกว่าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนโดยแท้ เช่น จ านวนรายงานเรื่องร้องเรียนว่ามีการท าให้บุคคลสูญหาย
               โดยการใช้ก าลัง (หรือการอุ้มหาย) จ านวนคนตายในระหว่างที่อยู่ในทัณฑสถาน จ านวนเรื่องร้องเรียนของสตรี
               ที่ถูกนายจ้างคุกคามทางเพศ จ านวนประชากรที่ถูกเวนคืนที่ดินในแต่ละปี ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักจะไม่ได้มีการ

               รวบรวมไว้ในรายงานข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคมทั่วไป

                        2.3.3 ประเภทของตัวชี้วัดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน

                                                                                                     38
                              ดังกล่าวข้างต้น ค าแนะน าของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  ได้
               จ าแนกประเภทของตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนออกเป็นสามประเภท คือ ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ


               37   Office of the High Commissioner for Human Rights, “Using Indicators to Promote and Monitor the
                  Implementation of Human Rights Some Question and Answer”, (Background Material Disseminate in
                  Asian Sub Regional Workshop, New Delhi, 26-28 July 2007).
               38
                   Office of the High Commissioner for Human Rights (2012), Human Rights  Indicators: A  Guide  to
                  Measurement and Implementation, Geneva: United Nations, (UN Publication No. HR/PUB/12/5), p. 34.
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37