Page 33 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 33
21
และตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อให้สะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐในการเคารพ ปกปูองคุ้มครอง และการท าให้เป็นจริง ซึ่ง
ตัวชี้วัดแต่ละประเภทมีลักษณะดังนี้
2.3.3.1 ตัวชี้วัดโครงสร้าง (Structural Indicators)
ตัวชี้วัดโครงสร้างเป็นตัวชี้วัดที่แสดงความตั้งใจ หรือเจตจ านงของรัฐในการเคารพสิทธิ
39
มนุษยชน และต้องการยกระดับสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งขึ้นโดยการยอมรับมาตรฐานระหว่างประเทศมาปรับใช้
ดังนั้นจึงสะท้อนออกมาในรูปแบบของการให้สัตยาบันสนธิสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิ
มนุษยชน รวมถึงการออกกฎหมายภายใน และมีกลไก ที่จ าเป็นในการน าไปสู่การตระหนักถึงการมีสิทธิ เพื่อให้
เกิดสิทธิขึ้นในระบอบกฎหมายหรือในสังคม ตัวชี้วัดโครงสร้างจึงเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนพันธกรณีในการเคารพ
40
(obligation to respect) ได้ชัดเจน
ในการพิจารณาตัวชี้วัดโครงสร้างจ าเป็นต้องวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ
แต่ละประเภทว่ากฎหมายภายในสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศหรือไม่ รวมทั้งต้องวิเคราะห์ว่ากลไก
หรือสถาบันที่มีอยู่นั้นจะมุ่งไปสู่การส่งเสริม และปกปูองคุ้มครองสิทธิให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ
ได้อย่างไร นอกจากนั้น ตัวชี้วัดโครงสร้างยังสัมพันธ์กับกรอบนโยบาย แผน และวิธีการ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ
41
สิทธิแต่ละประเภท ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องพิจารณา และวิเคราะห์ นโยบาย และแผน ของรัฐด้วย
ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ว่า สิทธิหลายๆ ประเภท อาจมีตัวชี้วัดเดียวกัน เช่น ตัวชี้วัดสิทธิ
ในชีวิต กับสิทธิในสุขภาพ อาจใช้การเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เป็นตัวชี้วัดความตั้งใจของรัฐในการท าให้บุคคลมีสิทธิในชีวิต และปูองกันอันตรายจากโรค หรืออุบัติเหตุ ที่ท าให้
ชีวิตอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัย เป็นต้น
2.3.3.2 ตัวชี้วัดกระบวนการ (Process Indicators)
ตัวชี้วัดกระบวนการเป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับเครื่องมือ หรือวิธีการที่จะท าให้การด าเนินการ
ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐเป็นไปตามเปูาหมาย หรือให้เกิดผลตามนโยบาย หรือแผนที่ก าหนดขึ้น ดังนั้น
ตัวชี้วัดกระบวนการจึงสัมพันธ์กับตัวชี้วัดผลลัพธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการด าเนินนโยบาย หรือแผน หรือกล่าว
อีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องมือที่จะน าไปสู่ความสัมฤทธิผลของเปูาหมายที่ได้วางไว้ นั่นคือการบรรลุหน้าที่ในการ
ท าให้เป็นผลสัมฤทธิ์ขึ้นมา ดังนั้น ตัวชี้วัดกระบวนการจึงเป็นเครื่องมือส าคัญในการติดตาม และตรวจสอบ
ความก้าวหน้าของการท าให้เป็นจริง หรือกระบวนการในการคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ดังนั้นตัวชี้วัดกระบวนการ
42
จึงสะท้อนพันธกรณีของรัฐในด้านการปกป้องคุ้มครอง (obligation to protect) ได้ชัดเจนมากขึ้น
39
ibid.
40
ibid.
41
ibid.
42 ibid.