Page 342 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 342
264
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ผู้กระทําผิดซ้ํา กลับเข้ามาในสังคม
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ผู้กระทําความผิดซ้ํา
อาจารย์วิชัย - ตัวผู้กระทําผิดซ้ํา จํานวนร้อยละของผู้กระทําผิดซ้ํา เมื่อกี้นี้บอกว่ามี
กระบวนการอะไรนะ ที่บอกว่าเป็นโครงการของกรมคุมความประพฤติ โครงการติดตามหรือครับ
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - เท่าที่ผมรู้มีการวิจัย มันมีกระบวนการที่เรียกว่าคล้ายๆว่าสมานฉันท์
อย่างเช่นว่าเวลามีการกระทําความผิดแล้ว มันมีผลทําให้ทําลายความสัมพันธ์อย่างเช่น คนที่จะมา
กระทําความผิดเนี่ย มันมีคนใกล้ตัว คนอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันเป็นเพื่อนกัน ความสัมพันธ์นี้ก็จะขาดลง
ก็มีกระบวนการ เขามีการทําวิจัยแล้วว่าพอทําไปพร้อมๆ กับงานวิจัย พอมาทําสมานฉันท์โดย
กระบวนการนี้ ใครที่รับโทษก็รับโทษไป แล้วก็ต้องมาคุยกัน คล้ายๆ กับว่ามีการมาประชุมกัน คน
ของกรมคุมประพฤติเป็นตัวกลาง มีฝุายที่เป็นผู้เสียหาย มาคุยกันมาเพื่อจะมาเยียวยา เพื่อให้สามารถ
ดําเนินความสัมพันธ์ต่อไปได้
อาจารย์วิชัย - ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - เขาใช้ชื่อแบบนี้ หรือคล้ายๆ แบบนี้ แต่ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจ แต่ว่ามีลักษณะ
แบบนี้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – น่าใช้ได้
อาจารย์วิชัย - ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (restorative justice) มีการทําโครงการยุติธรรมเชิง
สมานฉันท์
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เขาไม่ใช้เชิง เขาใช้
ยุติธรรมสมานฉันท์ เลย
อาจารย์วิชัย - ยุติธรรมสมานฉันท์ โอเคนะครับเด็กสตรี ตรงนี้ถามกรมคุ้มครองสิทธิไหมครับ
การลบทะเบียนผู้กระทําความผิด
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - คือไม่ทัน คือ ศาลยกฟูองแล้วแต่ประวัติเขายังอยู่ในทะเบียน เพราะว่า
เจ้าหน้าที่ทํางานไม่พอ เคยมีว่าเคยมาทําให้เวลาไปสมัครงานก็จะติดปัญหาว่ามีประวัติ
อาจารย์วิชัย - ตรงนั้นอาจจะเป็นทะเบียน
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - บางทีตํารวจเขาบอกว่าศาลไม่ส่งมา เขาไม่มีเวลาไปตาม
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1