Page 343 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 343
265
อาจารย์วิชัย - ที่จริงมันก็อยู่ในนี้ เมื่อกี้มันมีอยู่ตัวหนึ่งที่บอกว่าพอเขามา เราใช้ตัวชี้วัดหนึ่ง
กระบวนการการทําผิดซ้ําใช่ไหมครับ แต่กรณีที่เขาทํางานเสร็จแล้ว เขาถูกลงโทษจนครบกระบวนการ
แล้ว เขาไม่สามารถจะหางานทําอะไรได้ ตรงนี้เราควรทําอย่างไร
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เขามีการส่งไปให้
กระทรวงแรงงานทําอะไรหรือเปล่า กรมจัดหางาน
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - แต่จริงๆ แล้วเขาก็มีการบังคับให้หน่วยงานราชการรับเข้าทํางาน กรมจะ
ทราบอยู่แล้วว่าเขาเคยเป็นผู้กระทําผิด
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - แล้วมันออกมาเป็น
กฎระเบียบอะไรไหม
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - มี มีกฎระเบียบ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - งั้นก็ใส่ไปมีกลไก
อาจารย์วิชัย - การรับผู้ที่เคยต้องโทษให้ได้รับการจ้างงานในระบบปกติ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ทั่วไปไม่ใช่หญิง
อาจารย์วิชัย - ทั่วไป เขียนไปก่อนแล้วค่อยไปปรับภาษา
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - พี่เคยคิดเองว่า ถ้าใน
ฐานะนายจ้าง ไม่ใช่เป็นหน่วยงานนะ พูดถึงที่บ้านแล้วเรารู้ว่าเขาติดคุกมา แล้วเราจะรับเขามา คิด
หนักเหมือนกันนะ
อาจารย์วิชัย - คิดได้ แต่ว่าถ้าหากว่ามันเป็นความรู้สึก สมมติเป็นความรู้สึกตัวของเอกชนน่ะ
ได้ แต่ถ้าเกิดว่ามีกฎระเบียบเมื่อก่อนเรามีห้ามรับราชการใช่ไหม เคยต้องโทษจําคุกมันไม่ได้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อันนี้ต้องมีการขอแก้
กฎหมาย
อาจารย์วิชัย - มีอยู่เยอะเลยนะครับ โดยเฉพาะพวก regulation ผู้จัดการโรงแรม ผู้ขอ
ใบอนุญาตโรงแรม ต้องไม่เคยถูกคําพิพากษาจําคุกมาก่อนอะไรพวกนี้หลายๆ กรณี
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เออ นี่ต้องคิดนะเอาไง
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1