Page 339 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 339
261
อาจารย์วิชัย - เพราะฉะนั้นเราใส่ไปเป็นองค์กรอื่นไหม เป็นองค์กรอิสระ ตอนนี้องค์กรอิสระ
หนึ่งก็คือ กสม. อยู่แล้ว หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรหลัก
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - หรือมีองค์กรหลักในการติดตามบังคับใช้
อาจารย์วิชัย - องค์กรหลัก เดี๋ยวถ้าเป็นองค์กรหลักเขาก็บอกว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์มีอยู่แล้ว
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – คือ กรณีกระทรวงการ
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือกระทรวงอื่น เขามีปัญหาว่าเขามีหน้าที่ implement เขา
มีหน้าที่ปฏิบัติด้วย แล้วเขาจะมีหน้าที่ตรวจสอบด้วยได้หรือ ตรงนี้มันเป็นประเด็นถึงอยากให้มีองค์กร
อิสระกัน แต่ว่าในทางปฏิบัติก็ยาก ถ้าเผื่อว่าต้องตั้งองค์กรอิสระเยอะแยะไปหมด
อาจารย์วิชัย - ตอนนี้ก็ กสม. ก็มีอยู่แล้ว มีอนุเด็กอะไรก็ได้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ต้องตั้ง เราต้อง
กําหนดให้มันเป็นหน้าที่ของเราชัดเจน กรณีคนพิการก็รับมาอย่างชัดเจน แต่กรณีอื่นอาจไม่ค่อยชัด
อาจารย์วิชัย - เพราะฉะนั้นอาจจะต้องเขียนว่ามีกระบวนการภายใต้ กสม. ไหม มีการ
สอดส่อง ดูแล
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ไม่รู้มันเกินไปหรือเปล่า
คือตอนนั้นที่เขาร่างกฎหมายใหม่ก่อนที่จะปิดสภา ที่วันนั้นเชิญพี่ไปด้วยน่ะ เขาร่างกฎหมายอะไรก็ไม่
รู้เกี่ยวกับผู้หญิง
ผู้เข้าร่วมสัมมนา - พ.ร.บ. ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เขาพยายามร่างกฎหมาย
ขึ้นมาฉบับหนึ่งในสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาแล้วเขาก็มีหน้าที่หลายอย่าง และอันหนึ่งก็คือทําตัวเป็น
องค์กรตรวจสอบอยู่ในนั้นด้วย แต่มันยังเป็นร่างและมันยังไม่ผ่าน
อาจารย์วิชัย - ที่จริงกรมคุ้มครองสิทธิฯ ก็มีอยู่ใช่ไหมครับ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – แต่กรมคุ้มครองสิทธิฯ
ไม่ได้มีหน้าที่ monitor นะ implement อย่างเดียว กสม. นี่แหละมีหน้าที่ monitor
อาจารย์วิชัย - เราก็ใส่ไปแค่นี้ก็น่าจะพอ องค์กรอิสระสอดส่องดูแล
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1