Page 338 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 338

260


                         อาจารย์วิชัย -  ต้องนับด้วย ที่ไปสู่กลไกการระงับข้อพิพาท


                         คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ)  -  คือให้เป็นกรณีที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ นับ
                   ร้อยละของกรณีที่เกิดขึ้น เท่าที่จะนับได้


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ ในทั้ง process หน้า 6  ค่ะ การ
                   คุ้มครองในสตรีและเด็กในกระบวนการยุติธรรม อันแรกก็โอเคแต่ต้องระบุว่ามันอยู่ในรัฐธรรมนูญด้วย
                   ถ้าจําไม่ผิดมันมีอยู่รัฐธรรมนูญนะคะ ใส่คําว่าในรัฐธรรมนูญไปด้วย แล้วก็มีองค์กรอิสระที่สอดส่องคือ

                   ตรงนี้ไม่แน่ใจอาจจะต้องคุยกันเยอะนะคะว่าจะประมาณไหน แล้วก็ตอนนี้ขณะนี้มีองค์กรไหนที่ทํา
                   หน้าที่ตรงนี้อยู่หรือเปล่า

                         อาจารย์วิชัย -  คือผมว่าถ้าเราดูตรงนี้ ตัวชี้วัดน่าจะพิมพ์ว่ามีองค์กรพวกนี้หรือเปล่า ส่วนมีอยู่
                   เท่าไหร่อันนั้นน่าจะเป็นตัว benchmark อีกทีหรือเปล่าครับ


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา - ถ้ามีองค์กร พูดถึงองค์กรอิสระยังไม่แน่ใจว่ามันคือองค์กรไหนในปัจจุบันนี้
                   นะคะที่ดูแลถึงเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครอง เพราะว่ามันเหมือนมันหาเจ้าภาพ

                   จริงๆ ไม่เจอ อาจจะเป็นแต่ละส่วนอาจจะมีเอี่ยวอยู่บ้างในแต่ละส่วนราชการ

                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา -  ตอนนี้ผมมีความเห็นว่าน่าจะมีองค์กรหนึ่ง ถ้าเป็นองค์กรอิสระด้วย
                   สําหรับของอัยการเองก็มีการเข้าไปคุ้มครองสิทธิเหมือนกัน เช่นเข้าไปคุ้มครองพยานในช่วงสืบ แต่ว่า

                   ของอัยการนี่ไม่ถือว่าเป็นองค์กรอิสระ ถือว่าเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่ว่าที่อิสระ คือ ผู้ตรวจการ
                   แผ่นดิน

                         อาจารย์วิชัย -  ซึ่งเขาไม่น่าเข้าไปตรวจสอบ สอดส่องดูแลใช่ไหมครับ ผู้ตรวจการแผ่นดิน


                         ผู้เข้าร่วมสัมมนา - เขารับฟูองแต่เขาไม่ได้เข้าไปดูในกระบวนการ

                         ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – ในแง่ของอนุสัญญาฉบับ

                   แรกๆ ที่ออกมานี่จะไม่มีกลไกองค์กรอิสระตรวจสอบ แต่ว่าก็มีเขียนไว้ว่าควรจะมี แต่อนุสัญญาคน
                   พิการซึ่งเป็นอนุสัญญาล่าสุดเขียนไว้ชัดเจนเลยว่าจะต้องมีองค์กรอิสระ ทําหน้าที่ตรวจสอบ แล้วกรณี
                   คนพิการก็ได้ตกลงกันว่า กสม. ทําหน้าที่นั้น และอันนี้มันก็จะเป็น pattern ค่อนข้างจะทั่วโลก แต่ว่า

                   มันเป็นอนุสัญญาใหม่ อนุสัญญาที่ออกมารุ่นแรกๆ จะไม่มีประเด็นนี้ แล้วก็เป็นเรื่องที่คิดว่าน่าจะต้อง
                   มีกัน มันก็เลยว่าควรจะอยู่ตรงนี้แต่ว่าเราคงต้องกลับไปดู คือ ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
                   มั่นคงของมนุษย์ต้องกลับไปดูว่าให้ใครเป็นองค์กรอิสระทําหน้าที่นี้ เขาจะทําเองหรือว่าต้องตั้งมาใหม่
                   ซึ่งถ้าตั้งมาใหม่เยอะๆ ก็คงโดนด่ายับนะ ว่าตั้งองค์กรอิสระไปทําไมเยอะแยะ





                   รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1
   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342   343