Page 336 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 336
258
อาจารย์วิชัย - กระบวนการยุติธรรมที่ทําให้เขารู้ว่ามีสิทธิ มีกระบวนการที่ทําให้รู้ว่ามีสิทธิ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตัวชี้วัดพวกนี้แค่มีไม่มีก็
พอใช่ไหม
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ใช่ครับ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - มีกระบวนการแสดงให้
ผู้ใช้แรงงานรับทราบสิทธินะ
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - การรับทราบสิทธิ นอกจากมี
กระบวนการแล้วมีการทําหรือไม่ เป็นต้น
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตัวอย่างเช่นเรื่องอบรม
ทํานองนี้ ใช่ไหม
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - ใช่ครับ
อาจารย์วิชัย - ปัญหานักโทษเราถือว่าเป็นแรงงาน มีปัญหานะครับ มันมีข้อเท็จจริงอย่างเช่น
ทหารนี่ถือว่าเป็นแรงงานบังคับไหม forced labor เป็นปัญหาระดับระหว่างประเทศเลยนะฟูองถึง
ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ถ้าอย่างนั้นอาสาสมัคร
หมู่บ้าน
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - อาสาสมัครถือว่าสมัคร ถ้าเป็นเกณฑ์ก็
อาจจะเข้าข่าย
อาจารย์วิชัย - อันนี้เกณฑ์ มันมีสองอย่างที่เคยขึ้นศาลก็คือนักโทษ การใช้แรงงานนักโทษ แต่
ของเราปัจจุบันนั้นวิธีการเอานักโทษมาทํางาน ถามความสมัครใจและต้องคัดด้วย เพราะฉะนั้นอาจจะ
คลุมเครือ ไม่น่าชัด แต่ของจีนใช้แรงงานนักโทษผลิตแล้วส่งออก ผลิตสินค้าโดยใช้ทหาร ส่วนของ
ยุโรปเรื่องของทหาร มีคนเคยฟูองว่า การที่บังคับให้เขาเป็นทหารถือว่าเป็น forced labor ซึ่งศาล
ตัดสินว่าเป็น แต่รู้สึกว่า ILO ไม่เป็นถือว่าเป็น service ไม่ถือว่าเป็น forced labor เดี๋ยวผมไปเช็คนะ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - แล้วเขาได้ค่าตอบแทน
หรือเปล่าด้วย
อาจารย์วิชัย - ถึงได้ค่าตอบแทน แต่ถ้าบังคับ หรือขัดกับความสมัครใจก็ไม่ได้ครับ
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1