Page 334 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 334
256
อาจารย์วิชัย - เราเทียบกับตัวเอง จํานวนสัดส่วนเพื่อที่จะมาเป็นตัวชี้วัดเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - เหมือนพวกหมออัตรา
เกิดโรคน่ะ
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช - เทียบกับโรคอื่นใช่ไหมครับ
อาจารย์วิชัย – ใช่ เทียบกับตัวเองขึ้นลง
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) – คนตายต่อประชากร
แสนคนใช่ไหม
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช – หมายถึงเทียบกับปีที่แล้วๆ มา
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - อะไรอย่างนี้
อาจารย์วิชัย - โอเคนะครับผ่านตรงนี้
ดร.อมรา พงศาพิชญ์ (ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ตรงนั้นเป็นรายละเอียด
ผ่านไปก่อน
อาจารย์วิชัย - เดี๋ยวก็คงได้สักรอบสองรอบ สิทธิในสภาพและความมั่นคงแห่งชีวิตในข้อ 3
นะครับ การจับกุมคุมขังในคดีอาญา จับกุมคุมขังในตัวชี้วัดกระบวนการก็จะมีระยะเวลาในการ
ควบคุมตัว
คุณขรรค์ชัย คงเสน่ห์ (ส.น.ง. คณะกรรมการสิทธิฯ) - เขามีระเบียบมีแนวปฏิบัติให้ไหมครับ
สําหรับตํารวจ สําหรับอะไรที่จะคุมขังอะไรต่ออะไร มีไหม ถ้ามันมีระเบียบมีแนวปฏิบัติพวกนั้นล่ะก็
ถือว่าเป็น indicators เชิงกระบวนการ และอีกอันคือการที่จะทําให้ตํารวจรับรู้ก็เป็น indicators เชิง
กระบวนการว่าพอมีระเบียบแล้วระเบียบนี้มีการทําให้เจ้าหน้าที่เขารับรู้ไหมว่ามีระเบียบอย่างนี้ แล้ว
คุณต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ นั่นคือกระบวนการ
อาจารย์วิชัย - กระบวนการฝึกอบรม กระบวนการหรือว่าการฝึกอบรม
คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ - ในทางรูปธรรมคือปัญหาที่มันเกิดขึ้นก็คือว่า พระราชบัญญัติ
กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มันจะครบร้อยปีในอีกไม่กี่ปี มันอนุญาตให้ฝากขังได้สิบสองครั้ง ครั้งละเจ็ด
วันก็คือแปดสิบสี่วัน แต่ว่าการซ้อมทรมาน ถูกจี้เขาเรียกว่าอะไร ถูกทําร้ายร่างกายภายในสามถึงเจ็ด
วันแรก อันนี้คือประเด็นปัญหาในเชิงรูปธรรมที่มันเกิดขึ้น อย่างกรณีหลานคุณพิกุลก็เป็นตัวอย่างก็อุ้ม
หายไปเลย เป็นตัวชี้วัดอะไรบางอย่าง
รายงานการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1