Page 30 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 30
18
(Particularity) และมีความเชื่อถือได้ (Credibility) นอกจากนั้นวรรณี แกมเกตุ ได้เน้นความส าคัญของ
31
กระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดไว้ดังนี้
“การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้โดยทั่วไป ประกอบด้วยหลักการกว้างๆ สองอย่าง คือ
การตรวจสอบคุณภาพภายใต้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี และการตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติ อย่างไรก็ตาม
การตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติ เป็นเพียงหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนคุณภาพของตัวบ่งชี้
เท่านั้น ความส าคัญที่แท้จริงของการตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้จึงอยู่ที่กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของผู้พัฒนาเป็น
ส าคัญ เพราะหากการพัฒนาเริ่มต้นจากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่ขาดคุณภาพแล้วเทคนิควิธีการทางสถิติก็ไม่
อาจท าให้ผลการพัฒนามีคุณภาพดีขึ้นมาได้ ซึ่งผู้พัฒนาตัวบ่งชี้สามารถด าเนินการควบคุมและตรวจสอบ
คุณภาพของตัวบ่งชี้ได้ ทั้งในเรื่องของตัวแปรและการคัดเลือกตัวแปร การรวมตัวแปร และการก าหนดน้ าหนัก
ความส าคัญของตัวแปร แม้ว่าจะไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว แต่การเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับธรรมชาติของตัวแปร
และเปูาหมายในการน าไปใช้ประโยชน์ เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาตรวจสอบให้มีความเหมาะสม”
นอกจากนั้น Doran ได้พัฒนาเกณฑ์ (Criteria) ในการก าหนดตัวชี้วัดที่ดีเพื่อใช้เกี่ยวกับการ
บริหารและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วไป โดยสรุปเกณฑ์เหล่านั้นภายใต้ชื่อว่า SMART
32
Indicators อันประกอบด้วย
S -Specific ความเฉพาะเจาะจง โดยตัวชี้วัดมีความชัดเจนว่าต้องการวัดสิ่งใด
เพื่อมิให้เกิดการตีความผิดพลาดและเพื่อให้สามารถสื่อสารความ
เข้าใจให้ตรงกัน
M -Measurable การวัดผลได้ หรืออย่างน้อยควรบอกได้ว่ามีความคืบหน้า ซึ่งการ
วัดผลนั้น อาจเป็นการวัดผลในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
A -Assignable การก าหนดให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
R -Realistic ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุตามตัวชี้วัดที่ก าหนด ภายใต้ทรัพยากรที่
ได้รับการจัดสรร
T -Time-Bonded มีกรอบระยะเวลาที่ก าหนด หมายถึง สามารถบรรลุเปูาหมายได้ตาม
กรอบระยะเวลาที่ก าหนดไว้
2.3.2 ความหมายของตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
ส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ความหมายของตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชนไว้ว่าหมายถึง ข้อมูลจ าเพาะเจาะจงที่ได้ก าหนดขึ้นเพื่อแสดงสภาวะ หรือสถานะของเปูาหมาย
เหตุการณ์ กิจกรรม หรือผลลัพธ์ ซึ่งสัมพันธ์กับปทัสถานหรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยข้อมูลนั้นได้
บ่งถึง หรือได้สะท้อนหลักการของสิทธิมนุษยชนและปัญหาของสิทธิมนุษยชน และข้อมูลเหล่านั้นสามารถใช้
33
ประเมินและติดตามตรวจสอบ การน าหลักการและปทัสถานสิทธิมนุษยชนมาปรับใช้ในประเทศ
31
เรื่องเดียวกัน
32
George T. Doran, “There’s a S.M.A.R.T. way to write management’s goals and objectives” in AMA
FORUM, (Volume 70, Issue 11, 1981), pp. 35-36.
33 Supra note 11, para. 7