Page 16 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 16
4
มนุษยชนตามวาระ (Universal Periodic Review: UPR) ซึ่งในการพิจารณารายงานของคณะมนตรีสิทธิ
มนุษยชนนั้นจะแตกต่างจากการพิจารณารายงานที่จัดท าโดยคณะกรรมการประจ าสนธิสัญญา โดยคณะ
มนตรีสิทธิมนุษยชนจะถือพันธกรณีระหว่างประเทศตามกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ประกอบกับสนธิสัญญาเฉพาะที่ประเทศนั้นๆ ผูกพันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และ
6
กฎหมายและนโยบายของรัฐ
ในการพิจารณารายงานตามกระบวนการ UPR นั้น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจะพิจารณา
รายงานจากรัฐบาลเป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ในกรณีของประเทศไทย ได้แก่
กสม.) และภาคประชาสังคมสามารถเสนอ รายงานคู่ขนาน (Alternative Reports) เพื่อให้คณะมนตรีสิทธิ
มนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้รับข้อมูลสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างครอบคลุมรอบด้าน และ
รายงานคู่ขนานทั้งของ กสม. และภาคประชาสังคมจะช่วยให้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์เพื่อประกอบการพิจารณารายงานของรัฐบาลต่อไป
นับตั้งแต่มีการจัดตั้ง กสม. ขึ้นใน พ.ศ. 2542 กสม. ถือว่าภาระหน้าที่การจัดท ารายงาน
7
คู่ขนานเป็นภารกิจส าคัญประการหนึ่ง และได้จัดท ารายงานดังกล่าวเสนอเข้าสู่การพิจารณาของกลไกระหว่าง
ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องตลอดมา
1.1.3 ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดท ารายงานฯ ต่อองค์การระหว่างประเทศ
เหตุผลที่ตราสารระหว่างประเทศก าหนดให้มีการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนก็เพื่อช่วย
ให้รัฐบาลได้ประเมินตัวเองว่าได้ด าเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้มีประสิทธิภาพเพียงใด และยังมีส่วนที่
จะต้องแก้ไขอย่างไร รัฐบาลไทยยังมีพันธกรณีระหว่างประเทศที่จักต้องท ารายงานเสนอต่อสหประชาชาติเพื่อ
การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
ปัญหาส าคัญประการหนึ่งในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนก็คือ การที่รายงานไม่ได้
ให้ข้อมูลที่ตรงกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชน อันเกิดจากความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตเนื้อหาสาระของ
สิทธิมนุษยชน และพันธะหน้าที่ของรัฐที่มีต่อสิทธิแต่ละประเภท ทั้งนี้เนื่องจากสิทธิมนุษยชนหลายด้านมี
8
ลักษณะเป็นเกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน หรือ ปทัสถาน (Normative Rules) นอกจากนั้นสิทธิมนุษยชนหลาย
6
Office of the High Commissioner for Human Rights, “Basic Fact about UPR”, [online] Available at
http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/UPR/Pages/BasicFacts.aspx, (12 December 2011).
7 ดูใน เวปไซต์ ส านักงาน กสม. “ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน รายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ”, [online]
Available at http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?id=80&menu_id=2&groupID=6, (12 ธ.ค.
2554).
8
เกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน หรือ เกณฑ์ปทัสถาน คือ กฎเกณฑ์ที่ไม่มีค่าบังคับเด็ดขาด เป็นเกณฑ์ หรือ แนวทางความ
ประพฤติ (หรือ ”ควรที่จะท า”) ซึ่งต่างจากเกณฑ์ที่เป็นปฏิฐาน (Positive Rules) หรือเกณฑ์ที่เป็นการก าหนด
(Prescriptive Rules) เช่น กฎหมาย ระเบียบ หรือค าสั่ง ค าบังคับบัญชา ขององค์กรที่มีอ านาจสูงกว่าผู้ปฏิบัติ