Page 13 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 13
1
บทที่ 1
บทน า
1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของโครงการ
ในสังคมประชาธิปไตย การส่งเสริม และปกปูองคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเปูาหมายส าคัญประการหนึ่ง
ของรัฐ ส าหรับประเทศไทยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ
นับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ตาม สิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับรองไว้
ในรัฐธรรมนูญเหล่านั้นยังมีข้อจ ากัดหลายประการทั้งในด้านเนื้อหาของสิทธิ การใช้สิทธิ และองค์กรคุ้มครอง
สิทธิ เพื่อให้สิทธินั้นๆ เป็นจริง
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญเมื่อมีการจัดท ารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์เรื่องสิทธิเสรีภาพภายใต้
รัฐธรรมนูญโดยถือว่าเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นมนุษย์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ ทุกองค์กรของ
1
รัฐจักต้องค านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการด าเนินงาน และก าหนดให้เป็นสิทธิที่สามารถกล่าวอ้างใน
2
ศาลได้ นอกจากมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพอย่างกว้างขวางแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังก าหนดให้
จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขึ้นเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ในประเทศไทย พร้อมทั้งมีหน้าที่ในการปกปูองคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการติดตาม
3
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์รัฐประหารใน พ.ศ. 2549 และน าไปสู่การจัดท า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขึ้น หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด
3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็มิได้เปลี่ยนไปจากหลักการเดิม
1.1.1 อ านาจหน้าที่ กสม. ในการประเมินและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
การติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นภารกิจที่ส าคัญประการหนึ่ง ที่ท าให้
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้ทราบว่าในการด าเนินการตามภาระหน้าที่ของตนยังไม่สอดคล้องกับหลักการ
สิทธิมนุษยชนอย่างไร และจะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดียิ่งขึ้นไปได้อย่างไร
ดังจะเห็นได้ว่าแนวปฏิบัติของประเทศต่างๆ ได้ก าหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่ในการจัดท า
รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเผยแพร่ให้กับประชาชน ความส าคัญของภาระหน้าที่นี้ได้รับการเน้นย้ าโดย
1
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 24
2
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 28
3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 200