Page 119 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 119

103


                     5.1 ความรุนแรงที่มีสาเหตุมาจากเพศสภาพ (Gender-Based Violence) และสิทธิมนุษยชน
                   -  มากกว่า 25 ปี

                 จ านวนสตรี/เด็กหญิงที่แสวงหาที่พักพิง   จ านวนกรณี หรือร้อยละที่ได้มีจัดหาแหล่งพักพิงให้ที่
                   ชั่วคราวจากครอบครัวอุปการะหรือที่พัก    สตรี/เด็กหญิง
                   พิงชั่วคราว

                 สัดส่วนประชากรที่รู้ว่าความรุนแรงต่อสตรี   ร้อยละต่อประชากรทั้งหมด
                   เป็นความผิดอาญา

               ที่มา : ปรับปรุงจาก South African Commission on Gender Equality, (2010), A Gender Review of
                     South Africa’s Implementation of Millennium Development Goals

                        4.2.3 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์


                              4.2.3.1 ความเป็นมาของการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์


                                     ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ พัฒนาโดยสภาพัฒนาแห่งชาติ
               ฟิลิปปินส์ ที่ได้จัดท าเกณฑ์ชี้วัดโดยได้อิงจากพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้ในการก าหนด
               กรอบการพัฒนาของตน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟิลิปปินส์ (กสมฟ.)
               เป็นที่น่าสังเกตว่าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้ให้สัตยาบันกติกาและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
               เช่นเดียวกับประเทศไทยเกือบทุกฉบับ ทั้งนี้ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาการคุ้มครองสิทธิ

               ของแรงงานอพยพและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้
               ประเทศไทยและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานไปท างานในต่างประเทศเช่นเดียวกัน


                                     กสมฟ.  ได้จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ค.ศ.
               1986 (พ.ศ. 2529)  ในหมวดที่ 17 และก าหนดบทบาทอ านาจหน้าที่ไว้ในหมวดที่ 18 โดยที่รัฐธรรมนูญได้ให้
               อ านาจ กสมฟ. ในการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล และมีการตรวจตราและจัดท า
               รายงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นอิสระ


                                     โดยที่รัฐบาลจ าเป็นที่จะต้องด าเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนให้
               สอดคล้องกับพันธกรณี การใช้กรอบสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดที่จะน ามา
               ประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์  กสมฟ. จึงได้มีโครงการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเป็นตัวชี้วัดให้กับกติกา หรือ

               อนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ เพื่อที่รัฐบาลจะได้น าไปใช้งานได้ ขณะเดียวกัน กสมฟ. ก็จะได้ใช้เป็น
               เครื่องมือในการตรวจสอบรัฐบาลให้เป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าวอีกด้วย

                                     กสมฟ. ได้ริเริ่มโครงการวิจัยน าร่องเพื่อพัฒนาตัวชี้วัด โดยใช้แนวคิด “แนวทางสิทธิ

               มนุษยชนในการพัฒนา” (Human  Rights-Based  Approach)  โดยเริ่มต้นจากสิทธิมนุษยชนด้านเศรษฐกิจ
               สังคม และวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights: ESCR) บางส่วน ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจใน
               เรื่อง “สิทธิในการพัฒนา” ของ กสมฟ.  ซึ่งในที่สุด กสมฟ. ก็ได้เลือกเอา “สิทธิในอาหารและสุขภาพ” เป็น

               จุดเริ่มต้น เนื่องจากเป็นสาระส าคัญของปัจจัยสี่ อันเป็นความจ าเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเห็นว่า
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124