Page 116 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 116
100
4.2.2.4 กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด
1) ในขั้นแรก มีการมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ศึกษาถึงกรอบแนวคิดและ
มุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง ทั้งที่เหมือนและแตกต่างระหว่างกรอบ
แนวคิดและมุมมองของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
และกรอบแนวคิดและมุมมองของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ โดยมุ่งเน้นที่รัฐธรรมนูญ
ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นหลัก เพื่อให้สามารถปรับกรอบแนวคิดและวิธีการ
ด าเนินงานให้เหมาะสมกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ที่สุด โดยเห็นว่าจะเป็นวิถีทางที่
เป็นรูปธรรม ปฏิบัติได้จริง
2) เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นในส่วนของกรอบแนวคิดและมุมมองที่ปรับมาจากในส่วน
ของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และบริบทของ
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ จึงได้น ามาขยายผลเพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดย
จัดให้มีการหารือระหว่างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ซึ่งการน าตัวชี้วัดเบื้องต้นมา
พิจารณาร่วมกันท าให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเพิ่มเติมมุมมองและแนวคิด ซึ่งอาจ
ท าให้มีการตัดออกหรือเพิ่มเติมตัวชี้วัดในขั้นตอนนี้ น าไปสู่การเห็นชอบในร่าง
ตัวชี้วัดดังกล่าวร่วมกัน
3) ในส่วนของการน าเสนอร่างตัวชี้วัดต่อรัฐบาลและสาธารณชนนั้น SAHRC ได้
น าเสนอผ่านรายงานต่างๆ โดยจะแบ่งแยกออกเป็นเรื่องๆ ซึ่งอาจรวมกันอยู่เป็น
รายงานชุดใหญ่แล้วแต่กรณี เช่น สิทธิในด้านสุขภาพ ก็จะมีรายงานเฉพาะเรื่อง
แล้วมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับสิทธิในด้านสุขภาพโดยเฉพาะ หรือ
สิทธิที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะมีรายงานเฉพาะเรื่องที่มีตัวชี้วัดอยู่ด้วย
เช่นกัน เป็นต้น
จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่า SAHRC มีความกระตือรือร้นและเคลื่อนไหวอยู่
อย่างสม่ าเสมอ ทั้งในด้านการพัฒนาส่งเสริมสิทธิมนุษยชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามและตรวจสอบ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ซึ่งตัวชี้วัดจัดว่าเป็นเครื่องมือที่ส าคัญอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ดี
การพัฒนาตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะท าให้
ตัวชี้วัดได้น าไปใช้งานได้อย่างเต็มที่ เพื่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง
เป็นที่น่าสังเกตว่าการประเมินสิทธิทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น SACHR ได้ใช้
เปูาหมายและตัวชี้วัดตามเปูาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs)
เป็นพื้นฐานในการประเมินและตรวจสอบการด าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล เพราะถือว่า MDGs มี
เปูาหมายสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศแต่อย่างไรก็ตาม SACHR ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
MDGs มีเปูาหมายที่แคบกว่าพันธกรณีในการเคารพ ปกปูองคุ้มครอง และท าให้เป็นจริงที่เกิดจากกฎหมาย
ระหว่างประเทศ
ส าหรับเปูาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) นั้นเกิดขึ้นจากการที่ประเทศ
ต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมกันประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติที่นครนิวยอร์กในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ.
2543) ในการประชุมครั้งนั้น ผู้น ารัฐบาลต่างๆ ได้ตกลงรับรองปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium