Page 120 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 120

104


               ปราศจากสิทธิในการเข้าถึงอาหารและสุขภาพ การพัฒนามนุษย์ในมิติอื่นๆ ย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องอย่าง
               รุนแรง และสิทธิในด้านอื่นๆ ก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้  ดังนั้น การเคารพ การปกปูองคุ้มครอง และการด าเนินการ

               ให้สิทธิมนุษยชนนี้เกิดขึ้นจริง จึงเป็นภารกิจเบื้องต้นที่ส าคัญของระเบียบการบริหารรัฐกิจ และรัฐบาลจะต้อง
               ร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าว

                                     กสมฟ. จะได้ประสานงานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ และประชาสังคม ในการ

               ทบทวน และวิเคราะห์ตัวชี้วัดของภาคส่วน หน่วยงานต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมเสวนา การเก็บรวบรวมข้อมูล
               เชิงมาตรฐานและตัวชี้วัดจากหน่วยงานผู้ปฏิบัติ เช่น กระทรวงเกษตรฯ ส านักงานอาหารแห่งชาติ กระทรวง
               สาธารณสุข ฯลฯ และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมข้อมูล และวิเคราะห์ และน ามาสู่การประชุมร่วมระหว่าง
               ภาครัฐ และประชาสังคมเพื่อประเมินสถานการณ์ โดยใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือ


                                     เป็นที่น่าสังเกตว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชีย
               ตะวันออกเฉียงใต้ หนึ่งในสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น
               หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ยุคประชาธิปไตยภายหลังจากที่เผด็จการมาร์คอสถูกโค่นล้มลง

               เนื่องจากการโกงการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529  และเมื่อประธานาธิบดี คอราซอน อาคีโน ได้เข้า
               รับต าแหน่ง จึงได้ตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของประธานาธิบดี (Presidential  Human  Rights
               Commission)  ขึ้นในปีนั้น ปีถัดมาจึงได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ระบุให้มี กสมฟ. ขึ้น  นับแต่นั้นแนวคิด

               สิทธิมนุษยชนก็ได้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นตามล าดับ และที่น่าสนใจคือหน่วยงานภาครัฐจ านวนไม่น้อยได้
               ซึมซับเอาสิทธิมนุษยชนมาเป็นสารัตถะส าคัญในภารกิจของหน่วยงานของตน ทั้งนี้รวมถึงคณะกรรมการ
               เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (National  Economic  and  Development  Authority:  NEDA)  ซึ่งมี
               ความส าคัญในระดับยุทธศาสตร์ ก็ได้ระบุไว้ในเอกสารรายงาน โดยให้ค านิยาม การใช้แนวทางสิทธิมนุษยชนใน
               การวางแผนการพัฒนา ไว้ว่า


                                     “การใช้แนวทางสิทธิมนุษยชนในการวางแผนการพัฒนา เป็นกรอบคิดในการจัดท า
               นโยบาย โครงการ และยุทธศาสตร์ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ กรอบเวลาที่ชัดเจน และถูกก ากับไว้ด้วยตัวมาตรวัด

               ตามเกณฑ์สิทธิมนุษยชน หลักการ และมาตรฐานสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาทุกภาคส่วนให้มี
               ความเสมอภาค เท่าเทียม และยั่งยืน น าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี”

                              4.2.3.2 ปทัสถานทางกฎที่ใช้เป็นกรอบการพัฒนาตัวชี้วัด


                                     โดยที่ กสมฟ. เพิ่งริเริ่มโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดดังกล่าว และยังพัฒนา
               ตัวชี้วัดยังไม่แล้วเสร็จ  ในขณะที่องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ และหนึ่งในจ านวนนั้น นักกฎหมายด้าน
               สิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางคือ Ms.  Ma  Socorro  Diokno  ได้จัดท าเครื่องมือในการ
                                         230
               ประเมินสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น  ซึ่งเป็นรายงานศึกษาที่น่าสนใจขึ้นมา ก่อนหน้านั้น รายงานดังกล่าวได้รับ
               ความสนใจ และความร่วมมืออันดีจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ




               230
                    Diokno, Ma. Socorro, “HRBA Toolkit – Human Rights-Based Approach – Development Toolkit”,
                    [online] Available at  <http://www.hrbatoolkit.org > (10 Sep 2011)
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125