Page 114 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 114

98


               จ ากัดให้คนผิวสีอยู่ในเขตนอกเมือง การจัดการบริการสาธารณูปโภคและการบริการทางการศึกษาที่มี
               มาตรฐานแตกต่างกันระหว่างคนผิวสีกับคนผิวขาว การสงวนงานบางประเภทไว้ส าหรับคนผิวขาวเท่านั้น การ

               กีดกันไม่ให้คนผิวสีมีสิทธิในด้านการเมืองการปกครอง รวมถึงกิจกรรมทางสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชนใน
               ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ครั้งนั้นรุนแรงจนถึงขนาดที่ประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติร่วมกัน
               คว่ าบาตรประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายเหยียดผิวของรัฐบาลที่มีคนผิวขาวเป็น
               ผู้ปกครอง ในปี พ.ศ. 2520


                              สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรงภายหลังการลุก
               ขึ้นต่อต้านรัฐบาลของคนผิวขาวภายใต้การน าของนายเนลสัน แมนเดลา ช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังจากนั้นนาย
               เนลสัน แมนเดลา ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ใน ค.ศ. 1995     (พ.ศ. 2538) จึงได้มีการจัดตั้ง

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแอฟริกาใต้ (South African Human Rights Commission: SAHRC)
               ขึ้น โดยส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิของคนผิวสี ใน ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) โดยการพัฒนา
               ด้านสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม สิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ
               ได้รับการรับรองและบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ท าให้มีความชัดเจนและ

               สามารถเยียวยาการละเมิดโดยกระบวนการทางศาลได้

                              ในด้านการด าเนินการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของ  SAHRC นั้น ได้ด าเนินการ

               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในลักษณะบูรณาการ โดยจะเห็นได้จากการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้
               ก าหนดให้การพัฒนาและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเป็นรากฐานหลักอย่างหนึ่งในเปูาหมายของการพัฒนาประเทศ
               ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการศึกษา สิทธิในทางสาธารณสุข สิทธิในการท างาน และสิทธิในการมีชีวิตรอด ฯลฯ หรือ
               การน าเปูาหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium  Development  Goals:  MDGs) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย
               สหประชาชาติมาพิจารณาและพัฒนาควบคู่ไปกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

               (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) เป็นต้น

                            4.2.2.1 บทบาทและอ านาจหน้าที่ตามกฎหมายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                                   แอฟริกาใต้ (South African Human Rights Commission: SAHRC)

                                   SAHRC มีอ านาจที่จะ

                                     สืบสวนและรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน
                                     ช่วยเหลือและประกันการชดเชยที่เหมาะสมในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                     ท าวิจัย
                                     ศึกษา


                                   การติดตามตรวจสอบ และเฝูาระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ถือเป็น
               บทบาทที่ส าคัญอีกบทบาทหนึ่งของ  SAHRC ดังที่มาตรา 184  ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้
               ก าหนดอ านาจหน้าที่ของ SAHRC ให้มีหน้าที่ส าคัญคือ

                                     ส่งเสริมความเคารพในสิทธิมนุษยชนและวัฒนธรรมทางด้านสิทธิมนุษยชน
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119