Page 95 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 95
๘๖
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
๑๒
เดินทางกลับ และเมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทางแล้ว ผู้ลี้ภัยสามารถใช้สิทธิพื้นฐานของตนได้
ภาคประชาสังคมสามารถเข้ามามีบทบาทให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยได้ ดังต่อไปนี้
๔.๔.๑ ช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย และสถานการณ์ในประเทศต้นทาง
เพื่อการเดินทางกลับอย่างปลอดภัย
ภาคประชาสังคมสามารถเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต้นทางการ สถานการณ์การสู้รบใน
พื้นที่ และสถิติของผู้ลี้ภัยที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย เพื่อประเมินความปลอดภัยในเดินทางกลับ และ
ปรับปรุงนโยบายของรัฐให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์การอพยพในพื้นที่ โดยจัดให้มีการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม ่าเสมอเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงใน
ประเทศต้นทาง
ข้อมูลที่ภาคประชาสังคมนั้นสามารถท าหน้าที่เก็บรวบรวม คือข้อมูลดังต่อไปนี้
๑๓
(๑) ข้อมูลประเทศผู้ให้ที่ลี้ภัยเกี่ยวกับ ความปลอดภัยของศูนย์พักพิงชั่วคราว สุขภาพ น ้าดื่ม,
สุขอนามัย, และการศึกษา
(๒) ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนในการให้ความ
ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
(๓) ข้อมูลจากทั้งประเทศต้นทางและประเทศที่ให้ที่พักพิงในเรื่อง ต าแหน่งที่ตั้ง, จุดหมาย
ปลายทางที่ผู้ลี้ภัยต้องการเดินทาง, ความช่วยเหลือที่จัดไว้ส าหรับผู้ลี้ภัย
เมื่อข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมของหน่วยงานภาคประชาสังคม ควรน ามาจัดท าฐานข้อมูลซึ่ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานร่วมกันได้
๑๓ อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการ
คุ้มครองผู้บริโภคของวุฒิสภา. “เอกสารรายงานการพิจารณาศึกษา พ.ศ.๒๕๕๑ เรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ”