Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 94

๘๕
                                       รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”



                  เลยหากประเทศสมาชิกไม่ให้ความส าคัญและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน  ปรับปรุง และยกระดับ

                  มาตรฐานการคุ้มครองให้ทัดเทียมกัน และด้วยปัจจัยส าคัญที่ได้กล่าวมา คือสถานการณ์ในประเทศ


                  เมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศต้นทางของผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ในประเทศมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และ

                  การเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘ เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกแต่ละ

                  ประเทศตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น หน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งรับบทบาทเป็นผู้วางแผนและ

                  ปฏิบัติการตามนโยบายด้านความมั่นคงของประเทศไทย รักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน

                  และรับหน้าที่ในการดูแลผู้ลี้ภัยในพื้นที่ก็ควรปรับบทบาทให้ทันต่อบริบทของสังคม



                         การผลักดันผู้ลี้ภัยให้ออกนอกประเทศนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน เพราะแม้จะผลักดันกลับ

                  ออกไป สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยก็จะบีบบังคับให้ต้องเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก ประเทศ

                  ไทยจึงควรก าหนดหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ชัดเจนในการให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัยโดยสร้างให้

                  เกิดความสมดุลระหว่างหลักสิทธิมนุษยชนกับแนวคิดความมั่นคง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเสถียรภาพ


                  ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ

                  ที่ยั่งยืน


                         ดังนั้น โดยค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักความมั่นคงมนุษย์ ความเปลี่ยนแปลงในประเทศ

                  เมียนมาร์ และการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยมีความจ าเป็นจะต้องมีบทบัญญัติ


                  ที่ก าหนดให้มีการพิจารณาสถานการณ์ของประเทศต้นทาง และพยายามแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา

                  อย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และประเทศเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาสถานการณ์ใน

                  ประเทศเมียนมาร์ให้ดีขึ้น ยุติการสู้รบ และตระหนักถึงความส าคัญของการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ

                  บุคคล



                  ๔.๔   บทบาทของภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิของผู้ลี้ภัยจากการสู้รบ
                         ภาคประชาสังคมนั้นสามารถมีส่วนช่วยในการเดินทางกลับประเทศของผู้ลี้ภัย เพื่อให้เดินทาง

                  กลับนั้นปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี โดยการเดินทางกลับอย่างมีศักดิ์ศรี หมายถึง ผู้ลี้ภัยจะต้องไม่ถูกบังคับให้


                  เดินทางกลับในลักษณะที่ผลักไส ใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่ของประเทศต้นทางควรให้การยอมรับผู้ลี้ภัยที่
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99