Page 6 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 6

๕


                                                 บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
                          การข่มขืนกระทําชําเราและการกระทําอนาจารเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมาย
                   อาญาแห่งราชอาณาจักรไทย แต่การกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
                   กระทําอนาจาร ยังคงเกิดขึ้นอย่างสมํ่าเสมอในสังคมไทย ผู้ถูกกระทําส่วนใหญ่เป็นสตรีเพศ เด็ก และ
                   ผู้ด้อยโอกาสที่จะปกป้ องดูแลตนเอง ผู้กระทําส่วนใหญ่เป็นบุรุษเพศที่อยู่ในฐานะเหนือกว่าผู้ถูกกระทํา
                   ทั้งในด้านพละกําลัง ฐานะทางเศรษฐกิจ ฐานะทางสังคม และหน้าที่การงาน
                          การกระทําความผิดเกี่ยวกับเพศ เช่น การกระทําอนาจาร ดังกล่าวนั้น หากมองจากมุมของ
                   ผู้ถูกกระทํา การกระทําอนาจารนั้นคือการคุกคามทางเพศ ซึ่งหากเกิดขึ้นในที่ทํางานหรือระหว่าง
                   ปฏิบัติงาน การกระทํานั้นคือการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียแก่หน่วยงาน
                   นั้นโดยตรง เนื่องจากผู้ถูกคุกคามทางเพศในที่ทํางานมักจะได้รับผลกระทบอย่างแรงจากการถูก
                   คุกคาม ทําให้ไม่ต้องการทํางานอีกต่อไปเพราะไม่ต้องการพบเจอผู้ที่คุกคามตนเอง ไม่ต้องการถูก
                   คุกคามซํ้า ประสิทธิภาพในการทํางานลดลง หน่วยงานเสียผลประโยชน์อันควรจะได้รับจากการทํางาน
                   ของบุคลากรที่ถูกคุกคามทางเพศ
                          การต่อสู้ของผู้หญิงกลุ่มหนึ่งตลอดระยะเวลา ๓๔ ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะพนักงานหญิงของ
                   บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ในฐานะสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทการบินไทย และสุดท้าย
                   ในฐานะผู้ร่วมอุดมการณ์กระบวนการประชาสังคมเพื่อยุติการกระทําความรุนแรงต่อสตรี เป็นเส้นทาง
                   การต่อสู้เพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานหญิงและการคุกคามทางเพศในที่ทํางานโดยตรง เป็น
                   เส้นทางการต่อสู้ที่ควรได้รับการบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้
                   หญิงไทย ผลสําเร็จของการต่อสู้มีมากมาย รวมถึงการที่ล่าสุดบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ได้
                   ประกาศนโยบายและระเบียบบริษัทเพื่อปกป้ องคุ้มครองพนักงานจากการถูกคุกคามทางเพศในที่
                   ทํางาน แต่อุปสรรคในการต่อสู้เป็นระยะเวลา ๓๔ ปีก็มีมากมายเช่นกัน
                          รายงานศึกษาวิจัยฉบับนี้ จึงทําหน้าที่เพียงนําบทเรียนบางส่วนมานําเสนอ เพื่อให้เกิดการ
                   เรียนรู้และพัฒนา เพื่อให้สังคมไทยและองค์กรทุกภาคส่วนในสังคมก้าวไปสู่สังคมที่ปราศจากการ
                   คุกคามทางเพศ และองค์กรที่ปราศจากการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน อย่างแท้จริง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11