Page 65 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 65
๖๔
๒.
๒. แนวคําถามการสัมภาษณ์ระดับลึก
แนวคําถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ระดับลึกได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการ
วิจัยแล้ว นักวิจัยได้ใช้คําถามเหล่านี้เป็นแนวทางในการค้นหาคําตอบเพื่อนํามาศึกษากระบวนการต่อสู้
ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน แนวคําถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ระดับลึกมี
ดังต่อไปนี้
๑. ขอความกรุณาเล่าเหตุการณ์การคุกคามทางเพศในที่ทํางานที่ท่านได้ประสบและนํามา
เป็นกรณีต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย
(ซักถามต่อเนื่องเพื่อทําความเข้าใจวิธีคิดต่อเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ตลอดจน
เหตุผลและแรงบันดาลใจที่ทําให้คิดว่าต้องยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน)
๒. ระหว่างการขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหาย ท่านเผชิญกับอุปสรรคอย่างไรบ้าง
(ซักถามต่อเนื่องเพื่อทําความเข้าใจสภาพแวดล้อมของปัญหา ระบบโครงสร้างและนโยบาย
ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้อง)
๓. ระหว่างการขอความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียหาย ท่านได้รับการสนับสนุนอย่างไรบ้าง
(ซักถามต่อเนื่องเพื่อทําความเข้าใจเหตุผลที่สังคมไทยยอมรับได้หากจะปกป้ องคุ้มครอง
ผู้เสียหายและยุติการคุกคามทางเพศในที่ทํางานในที่สุด)
๔. ขอความกรุณาเล่ากรณีการต่อสู้เพื่อคุ้มครองผู้เสียหายให้ดิฉันฟังสัก 1 กรณี ขอให้เล่า
ตั้งแต่รับทราบเรื่องราวจนจบกระบวนการ และสถานะปัจจุบันของกรณีการต่อสู้นั้น
๕. ขอความกรุณาให้ความเห็นว่าองค์กรจะได้รับความเสียหายอย่างไรหากองค์กรไม่ให้
ความสําคัญต่อเรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางาน ขอความเห็นต่อความเสียหายที่เป็น
รูปธรรมต่อตัวองค์กร ไม่ใช่ต่อผู้เสียหายเป็นรายบุคคล
๖. กรุณาให้ความเห็นว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่ควรมีบทบาทในการยุติการคุกคามทางเพศใน
ที่ทํางานในสังคมไทย บทบาทเหล่านั้นเป็นอย่างไร กรุณาให้รายละเอียดทีละหน่วยงาน
๗. หากจะต้องให้ความรู้เรื่องการคุกคามทางเพศในที่ทํางานแก่องค์กรที่สนใจ ท่านคิดว่า
สาระสําคัญที่ต้องบอกต่อแก่องค์กรเหล่านั้นคืออะไรบ้าง กรุณาให้ข้อมูลอย่างละเอียด
๘. ท่านคิดว่าควรจะมีช่องทางการสื่อสารอย่างไรให้ประชาชนรู้จักแนวคิดเรื่องการคุกคาม
ทางเพศในที่ทํางาน และมีส่วนร่วมในการผลักดันให้องค์กรต่างๆเห็นความสําคัญของ
การคุกคามทางเพศในที่ทํางาน