Page 63 - รายงานโครงการศึกษาวิจัย การต่อสู้ภาคประชาสังคมเพื่อยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน : กรณีศึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
P. 63
๖๒
ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง และเป็น
การกระทําอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี
คุณนงนุชจึงไม่สามารถจะเอาผิดอาญาผู้หอมแก้มเธอได้ เพราะแม้ว่าผู้กระทําซึ่งเป็นพนักงาน
บริษัทการบินไทยจะเป็นคนไทย และการหอมแก้มต่อหน้าธารกํานัลนั้นผิดกฎหมายอาญาของประเทศ
ไทยแบบยอมความไม่ได้ แต่การหอมแก้มไม่ได้เกิดขึ้นบนอากาศยานไทย ซึ่งถือเป็นราชอาณาจักรไทย
นายคนนี้จึงรอดแง้มมือกฎหมายอาญาของประเทศไทยไปได้อย่างลอยนวล และสามารถนํากลับมา
เยาะเย้ยดูหมิ่นคุณนงนุชต่อได้อีกว่า ... “หอมแล้วก็จ่าย” ...
นักวิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๘ ในส่วนความผิดเกี่ยวกับเพศ โดย
แก้ไขให้การ กระทําอนาจาร (มาตรา ๒๗๘ ) เป็นความผิดโดยไม่มีข้อยกเว้น เฉกเช่นเดียวกันกับ การ
ข่มขืนกระทําชําเราผู้อื่น (มาตรา ๒๗๖) ที่เป็นความผิดอาญาโดยไม่มีข้อยกเว้น นั่นคือกฎหมายอาญา
ต้องไม่ยกเว้น ว่าการกระทําอนาจารนั้นต้อง เป็นเหตุให้
มาตรา ๘ ในส่วนความผิดเกี่ยวกับเพศ
ผู้ถูกกระทําได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตายเท่านั้น ต้องไม่ยกเว้นว่าเป็นการกระทําอนาจารต่อ
ผู้สืบสันดานหรือศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล เท่านั้น และต้องไม่ยกเว้น ว่าเป็นการกระทําอนาจารแก่เด็ก
อายุยังไม่เกินสิบห้าปีเท่านั้น
บทลงโทษสําหรับการคุกคามทางเพศทุกประการ รวมถึงการหอมแก้ม ควรต้องเป็นโทษอาญา
บทส่งท้ายสําหรับแจ่มศรีและพรพิมล ....
เธอทั้งสองยังจะต้องก้าวต่อไป ในฐานะครูฝึกพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย คุณ
พรพิมลบอกว่าลูกศิษย์ที่เธออบรมต้องรู้ว่าอะไรที่เรียกว่าเป็นการคุกคามทางเพศ กฎระเบียบของ
บริษัทคุ้มครองพวกเขาอย่างไร เธอกล่าวสั้น ง่าย จริงใจปิดท้ายไว้เพียงว่า ...
“คนถูกกระทําต้องไม่ยอม” และ “ระเบียบที่มีอยู่ต้องคุ้มครองได้จริง”