Page 192 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 192

คุณทองพูล  บัวศรี  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก


               ในฐานะที่ตัวเองดูแลลูกสาว ๗๐ คน ค าถามเรื่องนี้เป็นเรื่องยากมากๆ เพราะบางค าถาม เราก็หาค าตอบไม่ได้ จึงดี
               ใจที่มีงานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้น


               ประเด็นแรก จุดเด่นของงานวิจัยชิ้นนี้คือ มีบริบทเยอะ ทั้งในส่วนของกฎหมาย ๓ ประเทศ กฎหมายของประเทศ

               ไทยเอง และงานภาคสนาม แต่ทั้ง ๓ บริบทขาดการเชื่อมโยง  ท าอย่างไรให้เราเห็นความเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน

               ประเด็นที่สอง งานจากภาคสนาม มีข้อมูลที่สามารถเป็นข้อเสนอแนะและฟันธงได้ เช่น กรณีเด็กผู้หญิงตั้งครรภ์ที่

               ๓ และตัดสินใจท าแท้งเพราะเลี้ยงดูไม่ไหว หรือเปลี่ยนใจว่าไม่ท าแท้งแล้ว  ตรงนี้แหละ เราสามารถฟันธงในเรื่อง

               บริการและสวัสดิการจากภาครัฐ เพราะเด็กสาวที่ท้องไม่พร้อม บอกครอบครัวไม่ได้ ถามว่าเขาจะเอาเงินมาจาก
               ไหนล่ะ


               อีก ต.ย.หนึ่ง ต่อเนื่องจากประเด็นที่คุณนัยนาพูดในเรื่องความไม่เท่าเทียมของเพศหญิงเพศชาย  ฟันธงได้ไหมว่า

               ต่อไปนี้กิจกรรมที่ท าใน ร.ร.หรือทักษะชีวิตที่สอนกันใน ร.ร. ท าได้ไหมให้ครูแนะแนวทางการศึกษาปรับบทบาทให้

               เป็นครูแนะแนวทางชีวิตของเด็กเวลาที่เกิดปัญหาใน ร.ร.ขึ้น

               ดิฉันเห็นว่าตรงนี้เป็นจุดเด่นถ้านักวิจัยสามารถน าไปต่อยอดได้ เพื่อให้งานวิจัยน าไปสู่การปฏิบัติได้จริง

               และอย่างที่ทีมวิจัยบอกว่า งานชิ้นนี้ต้องการให้เด็กมีที่ยืน ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะกิจกรรม

               ที่จะช่วยให้เขากลายเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี


               ข้อมูลจากภาคสนามอีกเรื่องถือเป็นประเด็นที่จ าเป็น แต่งานวิจัยนี้แตะไว้ติดหน่อย ไม่ได้ลงลึก นั่นคือ การพูดคุย

               กันหรือทักษะการสื่อสารระหว่างพ่อ ระหว่างแม่ ระหว่างผู้หญิง และระหว่างคนที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็น
               พ่อแม่ฝ่ายชาย หรือพ่อแม่ฝ่ายหญิง  งานชิ้นนี้ท าให้เห็นเลยว่าถ้าพ่อแม่ทั้งสองฝ่ายสามารถพูดคุยกันได้ มีการท า

               กระบวนการดีๆ มีคนกลาง ไม่กล่าวโทษกัน ก็จะสามารถวางแผนชีวิตร่วมกันได้ หาทางออกและแก้ปัญหาได้   ตรง

               นี้คือ โอกาสที่ข้อมูลภาคสนามสามารถถูกหยิบยกมาและท าเป็นข้อเสนอต่อสังคมได้


               อย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะข้อจ ากัดของหน้ากระดาษรายงานหรือเปล่า ดิฉันพบว่างานภาคสนามขาด
               ข้อมูลหลายชิ้น โดยเฉพาะบริการของภาครัฐ  เรารู้แต่ว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐมักให้บริการด้วยสายตาดูแคลนหากเจอ

               เยาวชนหญิง  ดิฉันอยากรู้ว่ามีภาครัฐที่ให้บริการเด็กและเยาวชน และเยาวชนเข้าไปหาเค้าบ่อยๆ มีไหม   จุดนี้เอง

               สะท้อนว่า มีทั้งบริการภาครัฐที่ดีและไม่ดี








                                                                                                             ค-๑๙
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197