Page 194 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 194

คุณทัศนัย PATH : อยากเห็นงานวิจัยที่ไม่ใช่มีแต่เรื่องเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีงานท านองนี้ออกมามากแล้ว

               การรีวิวท าเยอะ แต่อยากให้เชื่อมโยงมากกว่านี้  เพื่อให้ชัดเจนขึ้นในแง่มิติสิทธิมนุษยชน อยากให้มองสิทธิ ๓
               ระดับ


               (๑) รัฐมีนโยบายหรือยุทธศาสตร์อะไร เขาได้รับสิทธิหรือบริการนั้นๆ หรือไม่


               (๒) รัฐมีกฎหมายอะไร กฎหมายเหล่านั้นคุ้มครองสิทธิเขาไหม กล่าวอีกอย่าง ควรวิเคราะห์ว่าสิ่งที่มีอยู่น่ะ ได้หรือ
               เปล่า หรือสิ่งที่มีอยู่น่ะ ละเมิดหรือเปล่า   ยก ต.ย.เช่น ไม่ค่อยมีคนทราบกันว่าผู้หญิงที่ถูกข่มขืนและตั้งครรภ์

               สามารถไปยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย  และถ้าตัดสินใจท าแท้ง แล้วไม่มี รพ.หรือหมอคนไหนเต็ม

               ใจจะยุติการตั้งครรภ์ให้  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนนะคะ ก็ต้องไปแสวงหาสถานที่ยุติเอง และจ่ายเงินเอง


               ตรงนี้ กสม.ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิ  ประเด็นคือ ถ้าคุณไม่ท าแท้งให้เค้า คุณก็ต้องหา
               สถานที่ที่เค้าจะท าได้อย่างปลอดภัย


               หรือ ยก ต.ย.ประกันสังคมเห็นชัดมาก ถ้าผู้หญิงไปท าแท้งแบบเถื่อน แล้วเกิดติดเชื้อ หากย้อนไป รพ. เค้าจะบอก
               ว่าคุณท าตัวคุณเอง ดังนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอง


               งานวิจัยรีวิวกฎหมายเยอะแล้ว แต่อยากให้รีวิวนโยบายลงลึกกว่านี้ เช่น ยุทธศาสตร์ฯ ของ พม. ที่เปิดตัวไปเมื่อต้น

               ปีที่แล้ว ปรากฏว่า พอเปลี่ยนรัฐบาล ก็ไม่มีการด าเนินการต่อตามยุทธศาสตร์ ตรงนี้ถือว่าละเมิดสิทธิ เพราะมีการ

               ตั้งงบประมาณส าหรับด าเนินการอะไรบางอย่างแล้ว แต่ไม่ท าหน้าที่

               (๓) สิทธิมนุษยชนพื้นฐานต่างๆ อยากให้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ประสบความส าเร็จในการเข้าถึงสิทธิใน

               ระดับหนึ่งแล้ว

               ถ้ารีวิวตามนี้ จะเห็นภาพชัดเจนว่า คุณไม่ได้รับอะไรบ้างที่คุณพึงมีจากการมีนโยบายต่างๆ  กฎหมายที่มีอยู่แล้ว

               ไม่ได้ท าให้คนเข้าถึงสิทธิใช่ไหม หรือคนไม่สามารถที่จะใช้สิทธิได้ตามกฎหมายหรือเปล่า และสุดท้าย สิทธิ

               มนุษยชนเหล่านี้ ไม่มีใช่ไหม

               ต้องสร้างข้อเสนอแนะต่อ กมส.เป็นหลัก  แล้ว กสม.จะไปผลักดันให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติให้คนได้รับสิทธินั้นๆ

               อย่างไร


               คุณอัญชลี ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.

               ดูจากรายงาน ทีมวิจัยยังไม่ครอบคลุมโครงการต่างๆ ของ สธ.  ของ สธ.เพิ่งส่งรายงานให้ทางสภา


               พอดีทางวุฒิสภามีการศึกษาเปเปอร์หนึ่งของ สว. เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พร้อม หัวหน้าทีมคือ อ.ยุ้ย อดีตคณบดี
               สาธารณสุข และเป็น สว.ด้วย  เปเปอร์นี้มีเวทีหลายรอบและถูกส่งไปที่กระทรวงและได้เข้า ครม.แล้ว   เนื้อหาจะ




                                                                                                             ค-๒๑
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199