Page 196 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 196
guideline ให้เราปฏิบัติ แต่ต้องถามกลับ พม.ว่า หลังลงนามแล้ว พม.มีการท าอะไรตรงนี้ต่อ นี่เป็น MoU ภายใต้
พรบ.ความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งครอบคลุมเรื่องเพศด้วยพอสมควร
คุณธีร์ สพฐ.
ขอเพิ่มเติมจากทีมวิจัยนะครับ นอกจากเรื่องค่ายแล้ว ตัวหลักสูตรเรามีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้แล้ว ปัญหาอยู่ที่การ
น าไปใช้จริง ครูเองไม่ถนัดที่จะพูดเรื่องนี้ คือติดที่พื้นฐานทางความคิด แต่ส่วนหนึ่ง PATH ก็ได้มาช่วยอบรมครู
ส่วนเรื่ององค์ความรู้ เราท างานกับทุกองค์กร บางอันขยายตัวไม่มากนั้น เช่น ของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก เราท างานมา
ด้วย ๕ ปีแล้ว ซึ่งครอบคลุมประเด็นเหล่านี้ด้วย มีกิจกรรมอย่างตัวฉันเป็นของฉัน
แนวปฏิบัติของ ร.ร. สพฐ.มีการสั่งการชัดเจนในเรื่องนี้ในเดือน ก.พ.ปี ๕๔ มี ๑๓ ข้อ เป็นหนังสือลงวันที่ ๑๔ ก.พ.
ให้ด าเนินการในทุกระดับ แต่ในการปฏิบัติจริง อาจยังติดที่พื้นฐานทางความคิดไม่ตรงกัน
สิ่งที่เราก าลังจะแก้ไขคือ การสร้างความรับผิดชอบให้เด็กผู้ชาย เพราะเวลาเกิดเหตุ เด็กผู้ชายอาจย้าย ร.ร.และไป
ท าคนอื่นท้องต่อ
อีกเรื่องที่เป็นความพยายามของ สพฐ.คือ การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเราจะตั้งทุก
เขตพื้นที่ ได้มีการประกาศตั้งศูนย์เมื่อหลังสงกรานต์ คาดว่าระบบนี้จะช่วยให้น้องๆ ได้มีที่พักพิง
คุณกฤษดา นักข่าวจาก TCIJ
ถามเรื่องกระแสสแกนกรรม จิตสัมผัสนั้น มันเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิผู้หญิงอย่างไรบ้าง
คุณนัยยา : รากเหง้าของเรื่องนี้มาจากความเชื่อความคิดประเพณี วัฒนธรรมและศาสนา แล้วโยงมาเรื่อง
กฎหมาย เรื่องนี้เราต้องฟันธงเรื่องที่สังคมเรามีไม้บรรทัดวัดที่ต่างกันระหว่างหญิงและชาย อันนี้เป็นการปะทะ
อย่างแรงเรื่องสิทธิ เวลาจะพูดเรื่องแบบนี้ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีคนอย่างคุณหมอสัญญามาอธิบาย ด้วยความที่
เป็นนักวิทยาศาสตร์และเป็นผู้ชาย เมื่อพูดเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการท าแท้ง และค าตอบของท่านพุทธทาสมันฟังดู
น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับมากกว่ามุมมองที่มาจากสายสังคมศาสตร์
เรื่องนี้ต้องการคนที่สามารถอธิบายได้ เพราะรากเดิมมันเกี่ยวข้องกับศรัทธา เวลาที่เราจะไปปะทะโต้แย้งกับศรัทธา
เดิมๆ อย่างบาปบุญคุณโทษเนี่ย มันหนักหน่วงมาก จึงจ าเป็นที่จะต้องมีค าอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์(แบบที่คุณ
หมออธิบาย) ฉะนั้น หาก กสม.จะเสนองานวิจัยนี้ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีค าอธิบายที่
เป็นวิทยาศาสตร์
ส าหรับ สพฐ. อยากตอบว่า มิติสิทธิมนุษยชน ต้องท าความเข้าใจให้เชื่อมโยงกับประเด็นชนชั้น โอกาสของคน และ
ประเด็นเพศด้วย มิฉะนั้น ยุทธศาสตร์ต่างๆ จะมีค าอธิบายแปลกๆ ออกมาหากละเลยเรื่องชนชั้นและเพศ
ค-๒๓