Page 187 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 187

ควรมีนโยบายพัฒนาบุคลากรในการท างานเรื่องนี้  พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการสร้างความเข้าใจเรื่อง

               ท้องไม่พร้อมนี้ เช่น มีฮอทไลน์ มีเวบไซด์ที่เด็กจะเข้าถึง มีพี่ๆ คอยตอบค าถามที่สงสัยจากน้องๆ   นอกจากนี้ น่าจะ
               มีการตั้งศูนย์การให้ความรู้ การคุ้มครอง เกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (อสม.น่าจะเป็นทางเลือก แต่ส่วนใหญ่

               เป็นโทรโข่งเสียมากกว่า  ดังนั้น การปรับทัศนคติของ อสม.ต่อเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งพึงพิจารณา)


                       ข้อเสนอแนะต่อ พม.

               นอกจากเรื่องของการพัฒนาบุคลากรแล้ว ต้องมีมาตรการท างานที่ละเอียดอ่อน


               ที่น่าแปลกคือ พมจ. มีเงินสงเคราะห์มากมาย แต่กลับไม่มีเงินสงเคราะห์ส าหรับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม

               เหมือนกับว่า พม.ละเลยเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ของเยาวชน  ตรงนี้ อาจต้องท างานร่วมกับ อปท.

               อีกข้อเสนอหนึ่งคือ การใช้ศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ ให้เชื่อมตรงไปถึงบ้านพักเด็กและครอบครัว เป็นหน่วยงาน

               ประสานเชื่อมโยง เพื่อให้สามารถท างานเรื่องนี้ได้เร็วขึ้น

                       ข้อเสนอแนะต่อส านักงานต ารวจแห่งชาติ


               นอกเหนือไปจากการปรับทัศนคติของต ารวจแล้ว นโยบายของแต่ละโรงพัก ต้องมีการให้ข้อมูลรอบด้านแก่

               เจ้าหน้าที่ และ ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ไม่งั้นเยาวชนอาจจะถูกกระท าซ ้า   ที่ส าคัญอีกอย่างคือ ควรมีการผลิต
               สื่อส าหรับใช้ภายในหน่วยงาน ที่ใช้ภาษากฎหมายเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่เข้าใจประเด็นละเอียดอ่อนนี้ได้

               ง่ายกว่า   ท้ายสุดคือ ต้องท างานแบบสหวิชาชีพ


                       ข้อเสนอแนะต่อองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

               เช่นกันคือ ต้องมีการปรับทัศนคติ พัฒนาบุคลากร รวมไปถึงให้การสนับสนุนเยาวชนท้องไม่พร้อม




               ส่วนที่สอง     การให้ข้อคิดเห็นต่องานศึกษา

               คุณนัยนา สุภาพึ่ง  มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร

               เห็นว่างานวิจัยควรจะปรับโดยเขียนให้ฟันธงมากกว่านี้ เพราะเรื่องท้องไม่พร้อมในมิติสิทธิมนุษยชน เราพูดกันมา

               นานมาก เพราะเราอยากจะบรรเทาให้ปัญหามันน้อยลง อย่างเช่นการให้ความรู้เรื่องเพศ ท าโครงการเรื่องเพศคุย

               ได้ เด็กจะได้มีความเท่าทันและจัดการตัวเองได้ดี


               เราควรชี้ให้เห็นว่า ในเรื่องเพศสัมพันธ์เนี่ย สายตาตัดสินของสังคมมองแตกต่างกันระหว่างหญิงและชาย ทั้งๆ ที่ใน
               มุมของสิทธิมนุษยชน ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน   ภายในสังคมไทยเองมักจะตัดสินหญิงมากกว่า ดังที่มีการบอกฝ่าย

               หญิงฝ่ายเดียวให้ “รักนวลสงวนตัว” ดังนั้น ถ้าหากงานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่รื้อทัศนคติลบๆ ที่สืบทอดเป็นมรดกตกทอด



                                                                                                             ค-๑๔
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192