Page 179 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 179
นอกจากนั้น ศาสนจักรยังมีบทบาทเรื่องการวางแผนครอบครัวด้านอื่นๆ เช่น ศาสนจักรเพิ่งจะพอยอมรับการใช้
ถุงยาง ในขณะที่มองว่ายาคุมก าเนิดและห่วงอนามัยเป็นบาป เพราะอย่างไรก็ตามการวางแผนครอบครัวด้วยวิธี
ธรรมชาติเป็นวิธีการคุมก าเนิดวิธีที่ศาสนจักรโรมันคาทอลิกยอมรับได้
จะเห็นว่า กฎหมาย นโยบายของฟิลิปปินส์ที่ออกมา ยังไม่ให้ความสนใจที่จะปกป้ องสิทธิของกลุ่มวัยรุ่น เยาวชน
เพศหญิง โดยเฉพาะในประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์ อันส่งผลให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม ไม่สามารถบรรลุ
สิทธิด้านต่างๆ ที่กล่าวมาเต็มที่ รวมไปถึงการเข้าถึงทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ หรือแม้แต่สิทธิในเนื้อตัว
ร่างกายของตนเอง
ค. อินโดนีเซีย
ประชากรนับถืออิสลามถึงร้อยละ ๘๖.๑ หลักการของศาสนาจึงมีบทบาทเหนือกฎหมายต่างๆ ทุกมาตราจะมีการ
ก ากับเอาไว้ว่า ทั้งนี้ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักการทางศาสนาและไม่ขัดกับศีลธรรมอันดีของสังคม
สิ่งที่น ามาศึกษา มีทั้งกฎหมายด้านสุขภาพ ด้านการพัฒนาประชากร และงานวิจัยที่ท าโดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติ
อินโดนีเซีย
ในส่วนของกฎหมาย จะมีการพูดถึงสิทธิด้านต่างๆ เช่น ด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ทุกคนมีสิทธิที่จะมีสุขภาวะทางเพศ
ที่ดีโดยปราศจากการบังคับหรือความรุนแรงจากคู่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะเห็นว่า เฉพาะคู่สมรสเท่านั้นที่จะมี
สิทธิต่างๆ ที่ไม่ขัดกับหลักศาสนา
กฎหมายนี้มีหลายร้อยมาตรา แต่ส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพวัยรุ่น มีแค่ ๒ มาตราเท่านั้น (คือ มาตราที่ ๑๓๖ และ
๑๓๗) ซึ่งท้ายสุดจะถูกก ากับไว้ว่า ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาในเรื่องศีลธรรม ค่านิยมทางศาสนา และใน ๒ มาตรา
นี้เองก็ไม่มีการระบุเรื่องสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่เยาวชนพึงจะได้รับเลย
โดยสรุปแล้ว จากการศึกษากฎหมายของประเทศอินโดนีเซียมีแนวนโยบายด้านอนามัยเจริญพันธุ์ที่คุ้มครอง
ปกป้ องเฉพาะหญิงหรือชายที่สมรสถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่คุ้มครอง ไม่ครอบคลุมหญิงหรือชายที่มี
เพศสัมพันธ์โดยไม่ได้แต่งงานกัน ทั้งนี้เพราะการมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสถือเป็นสิ่งที่ผิดตามหลักศาสนาอิสลาม
ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ หากการตั้งครรภ์ส่งผลต่อสุขภาพหญิงที่เป็นมารดาหรือถูกข่มขืนมาเท่านั้น จึงเห็นได้ว่า
เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่เข้าข่ายตามบทบัญญัติในกฎหมายนี้ เพราะขัดกับบทบัญญัติตามหลักศาสนา
ตั้งแต่ต้น จึงไม่สามารถท าแท้งได้
ง. บทสรุปจากการศึกษากฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องของทั้ง ๓ ประเทศ
ค-๖