Page 180 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 180

สิ่งที่เหมือนๆ กันในการก าหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ของทั้ง ๓ ประเทศคือ เราจะเห็นว่า หลัก

               ความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลเหนือการบังคับใช้กฎหมายมาก  แม้ว่าในความเป็นจริง ทั้ง ๓ ประเทศจะลงนามใน
               อนุสัญญาต่างๆ ไปแล้วก็ตาม   ตรงนี้เอง เป็นอุปสรรคส าคัญที่ท าให้เยาวชนหญิงไม่สามารถบรรลุสิทธิอนามัย

               เจริญพันธุ์ด้านต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการรักษาความลับและสิทธิแห่งความเป็นส่วนตัว

               ซึ่งยังไม่เห็นความชัดเจนในทั้ง ๓ ประเทศนี้


               ไม่ต้องกล่าวถีงการมีกฎหมายอนามัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะมาช่วยเติมเต็มช่องว่างนี้และคุ้มครองสิทธิของ
               เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม  ทั้ง ๓ ประเทศนี้ไม่มีกฎหมายเฉพาะเลย  ประเทศฟิลิปปินส์เคยพยายามแล้ว โดย

               ผ่านการท าประชาพิจารณ์มาหลายรอบ แต่ก็ตกไปจากการเป็นวาระพิจารณาเร่งด่วน เพราะทางศาสนจักรคัดค้าน

               อย่างหนักหน่วง เนื่องจากกลัวว่าการท าแท้งจะท าได้ถูกต้องตามกฎหมาย


               จะเห็นได้ว่า แม้จะมีกฎหมายเขียนไว้เรื่องสิทธิต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถน ามาปฏิบัติได้จริงเพราะเงื่อนไขของ
               ความเชื่อทางศาสนา และสังคมวัฒนธรรม   ที่ร้ายไปกว่านั้น อคติของคนในสังคมที่ไม่ยอมรับการตั้งครรภ์ของ

               เยาวชนหญิง ซึ่งมองว่า วัยนี้ไม่สมควรที่จะตั้งครรภ์ แม้แต่จะมีเพศสัมพันธ์ กฎหมายหรือนโยบายจึงมองข้ามคน

               กลุ่มนี้ไปอย่างน่าเสียดาย  ส่งผลให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย และการ
               สนับสนุนทางสังคม





               คุณชานันท์ ยอดหงษ์ นักวิจัยในส่วนกฎหมายในไทย

               ก. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


               ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์โดยตรง แต่กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของเยาวชน ได้แก่
               พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒  พรบ.คุ้มครองเด็ก ๒๕๔๖  พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว

               ๒๕๕๐  พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ๒๕๕๐  ฯลฯ


               ตัว พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ ก าหนดเรื่องของการศึกษาไว้ และเกี่ยวข้องกับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม
               ที่ยังเรียนอยู่  ใน พรบ.พูดถึงการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งเยาวชนทุกคนตั้งแต่อายุ ๗ ปีถึง ๑๖ ปีต้องได้รับการศึกษา

               ตรงนี้ โดยเน้นให้เยาวชนเป็นศูนย์กลาง


               ส่วนอีก ๓ พรบ. อันได้แก่ พรบ.คุ้มครองเด็ก ๒๕๔๖  พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระท าความรุนแรงในครอบครัว ๒๕๕๐

               พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ๒๕๕๐ พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมกับทางภาครัฐในการพัฒนา
               และคุ้มครองเด็กไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ไม่ให้ถูกกระท าความรุนแรง  แต่ พรบ.ทั้งสามนี้

               ไม่พูดถึงอนามัยเจริญพันธุ์เลย เช่น การตัดสินใจมีลูกได้เมื่อไหร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์  แต่



                                                                                                              ค-๗
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185