Page 174 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 174
ภาคผนวก ค
รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมกับมิติสิทธิมนุษยชน”
วันอังคารที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ณ ห้องมหาสวัสดี ๒
โรงแรมศาลายาพาวิลเลียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม
เริ่มเวลา ๙.๔๐ น. น าเสนอหลังจากการแสดงบทบาทสมมติจากทีมนักแสดงจากศูนย์ข่าวเยาวชนไทย ร.ร.เขมาภิร
ตาราม
ส่วนที่หนึ่ง การน าเสนอผลการศึกษาวิจัย
รศ.ดร.พิมพวัลย์ บุญมงคล กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ โดยเริ่มจากให้ดูตัวเลขสถิติเยาวชนไทยในช่วง
๑๕-๑๙ ปี (๕ ล้านคน) ตั้งครรภ์ ๒.๕ แสนคนต่อปี ร้อยละ ๕๐ เลือกท าแท้ง ๑ ใน ๔ ของจ านวนที่ท าแท้งนี้เป็น
การท าแท้งซ ้า
ผลก็คือ ก่อให้เกิดความตระหนักในสังคมว่าเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เสี่ยงต่อการถูก
ละเมิดสิทธิมนุษยชน และได้รับการปฏิบัติไม่เป็นธรรม จ าเป็นที่หน่วยงานต่างๆ ต้องเข้ามาปกป้ อง คุ้มครองสิทธิ
ด้านการศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการสังคมต่างๆ
ค าถามการวิจัย
เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมประสบปัญหาการด ารงชีวิตในสังคมไทยอย่างไรบ้างในมิติสิทธิมนุษยชน โดยมี
ประเด็นหลักๆ ดังนี้
อธิบายถึงสาเหตุ และสภาพปัญหาของเยาวชนหญิงการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในมิติสิทธิ
เมื่อตั้งครรภ์แล้ว ชุดประสบการณ์ของเขาเป็นอย่างไร จัดการอย่างไร
ต้องเผชิญปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร – ยุติหรือตั้งครรภ์ต่อ
วิเคราะห์นโยบายของรัฐไทย มาตรการทางกฎหมาย ว่ามีมิติของการปกป้ องเยาวชนกลุ่มนี้หรือไม่อย่างไร
โดยเปรียบเทียบกับอีก ๓ ประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
เสนอแนวทางมาตรการป้ องกัน รวมถึงการดูแลแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหญิงเยาวชน
ตั้งครรภ์ ให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ค-๑