Page 177 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 177

ส่วนนโยบายด้านการวางแผนประชากร หัวข้อ C มาตรา ๑๓ ระบุไว้ว่า “ผู้หญิงอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไปจะได้รับ

               วิธีการคุมก าเนิด รวมถึงบุคคลที่ยังไม่ได้แต่งงานอย่างเป็นทางการด้วย”  ตรงนี้ แม้กฎหมายจะระบุไว้ชัดเจน แต่
               ในทางปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปทุกคน จะเข้าถึงบริการด้านนี้


               นอกจากนี้ ที่บอกว่าบุคคลมีสิทธิที่จะเลือกใช้วิธีคุมก าเนิดได้ด้วยตนเอง แต่จากงานศึกษาของทีมวิจัยประเทศ

               เวียดนามที่เราน ามาศึกษา จะพบว่ามีอัตราการท าแท้งในหมู่เยาวชนหญิงสูงมาก คือ มากถึงร้อยละ ๒๐-๓๐ ของ

               อัตราการท าแท้งทั้งหมดของทั้งประเทศ

               ในเรื่องการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ถึงแม้ในตัวกฎหมายจะระบุว่าทุกคนสามารถเข้าถึงวิธีการคุมก าเนิดหรือข้อมูล

               ข่าวสาร แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ วัยรุ่นหรือเยาวชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ เพราะการคุมก าเนิดและการ

               วางแผนครอบครัว มีให้เฉพาะสามีภรรยาที่แต่งงานแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับกฎหมายที่ระบุไว้ จึงเห็นว่า เยาวชนหญิงไม่

               สามารถเข้าถึงหรือบรรลุสิทธิเรื่องการดูแลสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการคุมก าเนิดและวางแผนครอบครัว
               เพราะไม่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มเป้ าหมายของนโยบายและกฎหมาย


               ในมิติด้านสังคมวัฒนธรรม อิทธิพลของลัทธิขงจื้อท าให้คนเวียดนามให้ความส าคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว
               จากการศึกษาวิจัยจะพบว่ามีการท าแท้ง หากท าอัลตราซาวด์แล้ว เจอเด็กในครรภ์เป็นเพศหญิง เพื่อรอลูกเพศชาย

               ในครรภ์ต่อไป


               อีกประเด็นคือ ความสัมพันธ์ในครอบครัวจะให้ความส าคัญกับอายุและเพศเป็นส าคัญ  ผู้ปกครองจะมีอ านาจ

               เบ็ดเสร็จเหนือบุตรในทุกๆ การตัดสินใจ  แม้กฎหมายจะระบุว่าทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ทางปฏิบัติจริงมีความไม่เท่า
               เทียมในการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ซ้อนทับลงไปกับการปฏิบัติที่แตกต่างกันต่อลูกชายและลูกสาว


               เมื่อพยายามค้นไปที่สิทธิในความเป็นส่วนตัว หรือการรักษาความลับจะไม่ค่อยพบในกฎหมายที่น ามาศึกษา   เมื่อ

               ไปดูงานวิจัยจากประเทศเวียดนาม ก็พบว่า สิทธิด้านนี้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข  ส่วน

               ใหญ่สิทธิเรื่องการรักษาความลับจะไปอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง

               แต่ส าหรับคนที่ไปใช้บริการ เช่น ไปท าแท้ง ทุกคนในชนบทจะรู้กันหมด  พยาบาลที่ให้ค าปรึกษาก็อาจไปบอกคน

               อื่นได้ว่า เด็กคนนี้มาท าแท้งที่นี่นะ

               ข. ประเทศฟิลิปปินส์


               เหตุที่เลือกเพราะเป็นหนึ่งในสองชาติในเอเชีย ที่ประชากรนับถือคริสต์ถึงร้อยละ ๙๒ และในจ านวนนี้นับถือคริสต์

               นิกายโรมันคาทอลิกถึงร้อยละ ๘๓  (คริสตจักรโรมันคาทอลิกของฟิลิปปินส์นั้น ถือเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลมากใน
               การควบคุมเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัวของคน โดยเฉพาะเพศหญิง  Dr.Micheal Tan

               เรียกศาสนจักรโรมันคาทอลิกว่า “ตาลีบัน”)  วิธีคุมก าเนิดวิธีเดียวที่ทางศาสนจักรเห็นชอบคือ การคุมก าเนิดโดย



                                                                                                              ค-๔
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182