Page 181 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 181
กลับเน้นอย่างมากเรื่องการมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขณะที่การได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาวะทางเพศ และ
การมีอ านาจในการก ากับเนื้อตัวร่างกายของตนเองถูกมองข้ามไป เช่น ในฐานะที่วัยรุ่นเป็นวัยเจริญพันธุ์แล้ว เขา
ควรมีสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีลูกหรือไม่มี มีเมื่อไร มีลูกกี่คน เป็นต้น
ที่น่าเศร้ามากกว่านั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑-๓๐๕ ระบุว่า การท าแท้งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ใน
มาตรา ๓๐๕ ก าหนดหลายเงื่อนไขที่อาจท าแท้งได้ แต่ทั้งหมดกลับขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนอื่น (หมอ
ผู้ปกครอง ฯลฯ) ไม่ใช่การตัดสินใจของตัวเจ้าของร่างกายเอง จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ทั้งๆ ที่
รัฐไทยเป็นสมาชิกและลงนามในปฏิญญา อนุสัญญาต่างๆ
นอกจากนี้ ตัวประมวลกฎหมายอาญายังระบุว่า หญิงใดท าให้ตัวเองแท้งลูก (แทนที่จะใช้ค าว่า “ผู้ใด”) ประเด็นนี้
ชี้ให้เห็นว่า กฎหมายไทยยังเลือกปฏิบัติอยู่ และ ควบคุมก ากับเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น
ข. มาตรการของภาครัฐและภาคสังคมต่อเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม
การน าเสนอจะแบ่งตามหน่วยงานดังนี้
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
โดยหลักการแล้ว กระทรวงนี้มีบทบาทส าคัญมากเพราะมีหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับกระทรวงอื่นๆ มีหน้าที่ดูแล
เด็กนอกสถานศึกษา และมีอ านาจหน้าที่ใช้ พรบ.คุ้มครองเด็กโดยตรง รวมทั้งมีบทบาทในการผลิตและส่ง
เจ้าหน้าที่ที่จะให้ความช่วยเหลือกับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์
แต่พบว่า พม. ยังไม่มีบทบาทที่เราเห็นชัดเจน และยังมีกระบวนทัศน์ที่มองว่า การตั้งครรภ์ของหญิงว่าเป็นการท้อง
“ก่อนวัยอันควร” มากกว่าจะมองว่าอาจเป็นผลจากความรุนแรง และไม่ได้มีมุมมองในเรื่องสิทธิของหญิงตั้งครรภ์
มากเท่ากับการพุ่งเป้ าไปที่การแก้ไขปัญหา
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
ขณะที่ในกระทรวงสาธารณสุขมีบทบาทชัดเจนและเด่นกว่า พม. อย่างไรก็ดี สธ. มักมองว่านี่คือโรค ดังเช่นใน
“ข้อมูลเฝ้ าระวัง” ได้จัดให้ประเด็นการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเยาวชนหญิงอยู่ในหมวดเดียวกับการเป็นโรคเอดส์ เป็น
วัณโรค เป็นผู้ป่วย ข้อมูลหลักๆ ที่น าเสนอ (และ “เฝ้ าระวัง”) เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงได้แก่ อายุการ
มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของเยาวชน การมีเพศสัมพันธ์โดยการแลกสิ่งของ หรือโดยไม่ป้ องกัน เป็นต้น ซึ่งไม่น่าแปลก
ใจเพราะแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าวมาจากส านักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
สธ.มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้ องกันและแก้ไขปัญหาท้องไม่พร้อมหลายอัน เช่น แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
อนามัยเจริญพันธุ์วัยรุ่นและเยาวชน อายุ ๑๐-๒๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๓-๕๖) ซึ่งพุ่งเป้ าไปที่เยาวชนเพศหญิงมากกว่า
ค-๘